เกณฑ์สำหรับประเมินความพึงพอใจ

เกณฑ์การให้คะแนน และ เกณฑ์ประเมิน

18 ก.พ.53 มีกลุ่มเพื่อนจัดทำโครงการอบรม แล้วใช้แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจโดยใช้ scale 5 ระดับ หรือที่เรียกว่าวัดเจตคติตามเทคนิคของของลิเคิร์ท (Likert technique) หรือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ทสเกล สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดไว้ 2 แบบคือ เกณฑ์การให้คะแนน และเกณฑ์การประเมิน (โดยนำระดับสูงสุดลบระดับต่ำสุดแล้วหารด้วยจำนวนช่วงที่ตั้งไว้) ซึ่งผลการใช้เกณฑ์ทั้งสองมีตัวอย่างการเขียน (อันที่จริงผมพบปัญหาในตัวอย่างนี้ แต่ไม่ได้แก้ไข .. ท่านมองเห็นหรือไม่ .. ผมเพียงแต่ถามนะครับ) ดังนี้ มีการจัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละครั้ง โดยใช้คำถามที่แบ่งระดับความพึงพอใจ ๕ ระดับ มีคำถามจำนวน ๘ คำถาม ดังนี้ ๑) ความเข้าใจก่อนเข้ารับการอบรม  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (X = ๓.๑๖ , S.D = ๑.๑๗)   ๒) ห้องอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๔ , S.D = ๐.๖๕) ๓) วิทยากร ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๔ , S.D = ๐.๖๕)  ๔) หัวข้อการบรรยาย  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๒๑ , S.D = ๐.๖๐)  ๕) ช่วงเวลาในการจัดกิจกรรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๓.๘๘ , S.D = ๐.๗๗)  ๖) สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์  ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๕)  ๗) ความเข้าใจหลังรับการอบรม ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X =๔.๓๑, S.D =๐.๖๙) ๘) ภาพรวมของโครงการ ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๓๓, S.D =๐.๖๑) โดยสรุปผลประเมินทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (X = ๔.๐๖ , S.D = ๐.๕๒)
+ http://sunee5.multiply.com/journal/item/2 รวมบทความวิจัย
+ http://en.wikipedia.org/wiki/Likert_scale
+ http://tulip.bu.ac.th/~wathna.s/reliability.htm วิเคราะห์ข้อสอบ

ความกว้างของอันตรภาคชั้น = คะแนนสูงสุด – ต่ำสุด หารด้วย จำนวนชั้น
Class Interval (ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์, 2543,หน้า 30)
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2543). สถิติพื้นฐานพร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม Minitab SPSS และ SAS. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชัชวาลย์ เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน . ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
http://digi.library.tu.ac.th/thesis/sw/2680/13REFERENCES.pdf
http://pru3.pnru.ac.th/offi/graduate/upload-files/pictures/63/H_711_7586.pdf
http://prezi.com/p9x1rkhj_cej/presentation/

ลิเคิร์ทสเกล (Likert Scale) 5 ระดับ โดย เร็นสิส เอ. ลิเคิร์ท (Rensis A. Likert)
Likert, Rensis A. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

สมการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis.(2 ed.). New York: Harper and Row.

Author: บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

I am Lecturer, Developer, Researcher, Columnist, Writer, Photographer, and Webmaster - L@mpang man

Leave a Reply