thaiall logomy background การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
my town
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

การเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ กระบวนการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผน และดำเนินการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ มีองค์ประกอบดังนี้ 1) วิเคราะห์ตนเอง 2) กำหนดจุดมุ่งหมาย 3) วางแผนการเรียน 4) แสวงหา 5) ประเมิน และ 6) ปรับปรุงด้วยตนเอง
การเรียนรู้เชิงรุก | การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | ศีล 5 | กยศ | มีเหตุมีผล | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน | wordwall | genially |
วิชาเพิ่มเติ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง วิชาเพิ่มเติ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตามหลักสูตรแกนกลาง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการค้นคว้า มีขั้นตอนการเรียนรู้ดังนี้ 1) การกำหนดประเด็นปัญหา 2) ตั้งสมมติฐานการศึกษาค้นคว้า 3) การรวบรวม 4) การบันทึก 5) การจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ 6) สรุปความรู้ ข้อค้นพบ 7) การนำเสนอแนวคิดในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
หนังสือเรียน รายวิชาเพิ่มเติ่ม การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 1 (IS 1) ม.1-3

E-book การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง IS ม 4 6 เล่ม 1
วิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ม.5 รายวิชาการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ม.5 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม พ.ศ. 2565
มีเนื้อหา 9 บทเรียน ประกอบด้วย
1) ประเด็นปัญหาและสมมติฐาน 2) ข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล 3) แหล่งสารสนเทศ 4) อินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น 5) การประเมินสารสนเทศ 6) การสังเคราะห์และสรุปองค์ความรู้ 7) การเขียนรายงานวิชาการ 8) การเขียนอ้างอิง และบรรณานุกรม 9) ส่วนประกอบและการจัดพิมพ์
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) ารศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) คือ เทคนิคการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการพัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสาระการเรียนรู้ 3 สาระ ดังนี้
IS 1 - การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation) คือ สาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมุติฐาน ค้นคว้า แสวงหาความรู้และฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างองค์ความรู้
IS 2 - การสื่อสารและการนาเสนอ (Communication and Presentation) คือ สาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิด ข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม หลากหลายรูปแบบ และมีประสิทธิภาพ
IS 3 - การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity) คือ สาระที่มุ่งให้ผู้เรียน นำ/ประยุกต์องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)
บันได 5 ขั้น สู่วิชา IS
บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียน สู่มาตรฐานสากล บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียน สู่มาตรฐานสากล
1. การตั้งประเด็นคำถาม/สมมติฐาน (Hypothesis Fomulation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักคิด สังเกต ตั้งคำถามอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการตั้งคำถาม (Learning to Question)
2. การสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Searching for Information) เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ต หรือจากการฝึกปฏิบัติทดลอง เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ (Learning to Search)
3. การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้และสารสนเทศที่ได้จากการแสวงหาความรู้มาถกแถลง อภิปราย เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct)
4. การสื่อสารและการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการสื่อสาร (Learning to Communication)
5. การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคมและชุมชนรอบตัวตามวุฒิภาวะของผู้เรียนและจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและบริการสังคม (Learning to Serve)
รายงานผลงาน บันได 5 ขั้น ของการพัฒนาผู้เรียนบนพื้นฐานของการศึกษาเพื่อชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning: CBL) ผ่านกิจกรรม 4 รู้
หนังสือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ของ กรมที่ดิน ารศึกษา ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ทำเฉพาะใน กระทรวงศึกษาธิการ เท่านั้น พบว่า กลุ่มวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ กองฝึกอบรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย จัดทำหนังสือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรกรมที่ดิน หรือผู้ที่สนใจ อันจะส่งผลต่อการพัฒนาตนเองให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งในสารบัญพบเนื้อหา ประกอบด้วย 1) ความสำคัญของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) ความหมายของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) ขั้นตอนของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4) รูปแบบกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) การเรียนรู้ด้วยตนเองเกิดขึ้นได้อย่างไร 6) การวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 7) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 8) ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยตนเอง 9) สรุปการเรียนรู้ด้วนตนเอง 10) บรรณานุกรม
หนังสือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ของ กรมที่ดิน
การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยตนเอง

กองฝึกอบรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย. (2559).  การเรียนรู้ด้วยตนเอง.  กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์ กรมที่ดิน.

ค้นประวัติบุคคล หรือข้อมูล ผ่าน เอ.ไอ. ปัจจุบัน นักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเองโดยง่าย มี Artificial Intelligence ด้านบริการข้อมูล เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ฟรี และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เช่น chatgpt, copilot, gemini, claude, perplexity บทเรียนหนึ่งที่น่าสนใจ เริ่มจากนึกถึงชื่อและนามสกุลของบุคคล เมื่อนึกถึงบุคคลต้นแบบแล้ว ก็ขอประวัติบุคคลจากเอไอ ตัวอย่าง Prompt เพื่อขอข้อมูลประวัติบุคคล ผ่าน เอไอ เช่น ประวัติ [ชื่อ และ นามสกุล]
ประวัติ ศักดิ์ รัตนชัย

ประวัติ บัณฑิต กันต๊ะบุตร
เรียนจบ ปวส. หรือ ปริญญาตรี แบบไหนดีกว่ากัน

อันดับมหาวิทยาลัย ใน ประเทศไทย 2023 ของ webometrics ranking
Thaiall.com