thaiall logomy background ระบบสารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน
my town
sillapa_lampang

ระบบสารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

ระบบสารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน คือ ระบบข้อมูลสำหรับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ที่แบ่งการแข่งขันเป็นกลุ่มกิจกรรมหลัก เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ภาษาต่างประเทศ คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ สาระดนตรี สาระนาฎศิลป์ การงานอาชีพ กลุ่มการศึกษาพิเศษ
การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนแห่งอนาคต | ทำนายเกรด | กยศ | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน |
งานศิลปหัตถกรรม คือ เวทีแสดงผลลัพธ์ งานศิลปหัตถกรรม านศิลปหัตถกรรม คือ เวทีสำหรับแสดงผลลัพธ์ของการพัฒนาตนเองด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะต่าง ๆ เป็นทั้งความหวัง และหนทางสู่ความสำเร็จ ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เป็นอีกเส้นทางหนึ่งของการพัฒนาคน ผ่านกิจกรรมที่ท้าทายความสามารถ พัฒนาทักษะ ผ่านโครงการ กิจกรรม รูปแบบ บูรณาการ และปรับเปลี่ยนตามบริบทของพื้นที่ ซึ่งมีรางวัลชนะเลิศ เหรียญรางวัล และประกาศณียบัตร เป็นแรงบันดาลใจ ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการประเมินผลงานนักเรียน ครู โรงเรียน และชุมชน เพราะความสำเร็จมีได้หลายเส้นทาง ยืดหยุ่นตามเทคโนโลยี วัฒนธรรม แล้วยังพัฒนาได้อีกมาก ด้วยวิสัยทัศน์ของนักพัฒนาการศึกษาทุกระดับ
#portfolio #practice #challenge #competition #knowledgemanagement
สารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน านศิลปหัตถกรรม ได้เริ่มจัดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจะแนะนำชักจูงให้เด็กชายหญิงในสมัยนั้น ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรม ซึ่งเป็นทางเลี้ยงอาชีพต่าง ๆ เพื่อจะกันการที่เด็กทั้งหลายพากันนิยมในการเป็นเสมียน หรือ เข้าทำราชการให้น้อยลง การจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมีการจัดต่อเนื่องกันตลอดมา มีหยุดเว้นช่วงบ้าง เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองไม่ปกติก็ตาม เปลี่ยนชื่องานไปก็หลายครั้ง โดยทั่วไปนับว่าเป็นงานที่มีชื่อเสียงมาก มาแต่ในอดีต งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน สมัยก่อนนั้นการจัดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน มีจุดมุ่งหมายเพื่อแนะนำ ชักจูงให้เด็กชาย-หญิง ได้เอาใจใส่ฝึกหัดศิลปหัตถกรรมให้เกิดความชำนาญ มีความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มพูนรายได้ในการเลี้ยงชีพ ต่อมาได้มีการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน นับได้ว่าเป็นงานที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของเด็กไทยและประชาชนทั่วไปเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการแสดงสุดยอดของเด็กไทยตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 1-4 ซึ่งทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า หากทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกอย่างเต็มที่ จะเป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกซึ่งความสามารถในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทักษะทางวิชาการ วิชาชีพ ศิลปะ ดนตรี และการแสดง ล้วนแต่เป็นเวทีที่ต่อยอดความรู้ความสามารถของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน เป็นการสร้างโอกาสที่ดียิ่งให้แก่เด็กไทยทุกๆ คน ได้มีโอกาสแสดงความสามารถเต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่จัดขึ้นในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งนี้ และที่สำคัญถือเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพทางด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการจัดเวทีและพื้นที่เช่นนี้จะสร้างแรงจูงใจที่ทำให้นักเรียน ครู ตลอดจนสถานศึกษาได้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
การพัฒนากิจกรรมการแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน สู่ความเป็นเลิศระดับชาติ
ระบบสารสนเทศงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ปี 2567 ลำปาง
ลุ่มสาระในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ของ สพม.เชียงราย ประกอบด้วย 15 กลุ่มหลัก ดังนี้ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 5) ภาษาต่างประเทศ 6) คอมพิวเตอร์ 7) หุ่นยนต์ 8) นักบินน้อย สพฐ. 9) สุขศึกษาและพลศึกษา 10) ศิลปะ สาระทัศนศิลป์ 11) ศิลปะ สาระดนตรี 12) ศิลปะ สาระนาฎศิลป์ 13) การงานอาชีพ 14) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 15) กลุ่มการศึกษาพิเศษ รวม 116 กิจกรรมหลัก
ประกาศ : sillapa_2567_chiangrai.pdf
คอมพิวเตอร์ - เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปี 2565
กณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 70 ปีการศึกษา 2565 แบ่งได้ 18 หมวดหมู่ คือ 1) ภาษาไทย 2) คณิตศาสตร์ 3) วิทยาศาสตร์ 4) นักบินน้อย สพฐ. 5) สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 6) สุขศึกษา และพลศึกษา 7) ศิลปะ-ทัศนศิลป์ 8) ศิลปะ-ดนตรี 9) ศิลปะ-นาฏศิลป์ 10) ภาษาต่างประเทศ 11) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 12) คอมพิวเตอร์ 13) หุ่นยนต์ 14) การงานอาชีพ 15) ปฐมวัย 16) การศึกษาพิเศษ (โรงเรียนเรียนรวม) 17) การศึกษาพิเศษ (เฉพาะความพิการ) 18) การศึกษาพิเศษ (ศูนย์การศึกษาพิเศษ)
มื่อเปิดแฟ้ม เกณฑ์การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สรุปกิจกรรมการแข่งขันกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) พบว่า มี 13 กิจกรรม แบ่งได้ 26 รายการ ซึ่งมีรายละเอียด 51 หน้า พบหน้า 49 - 51 มีตัวอย่างรายชื่อโปรแกรมที่พบในการจัดประกวดและแข่งขันทักษะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ทั้ง 13 รายกิจกรรม คือ 1. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก 2. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนเรื่องสั้น (Comic Strip) 3. การแข่งขันการสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น (3D Animation) 4. การแข่งขันการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 5. การแข่งขันการสร้างเกมสร้างสรรค์จากคอมพิวเตอร์ 6. การแข่งขัน Motion Infographic 7. การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ (Presentation) 8. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Text Editor 9. การแข่งขันการสร้าง Webpage ประเภท Web Editor 10. การแข่งขันการสร้าง Web Applications 11. การแข่งขันการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ 12. การประกวดโครงงานคอมพิวเตอร์ประเภทซอฟต์แวร์ 13. การแข่งขันการตัดต่อภาพยนตร์
เกณฑ์การแข่งขันฯ คอมพิวเตอร์ 2565 มี 51 หน้า
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน - sillapa.net
งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่ จังหวัดลำปาง
มีหลายจังหวัด มีหลายโรงเรียน มีหลายเขตพื้นที่การศึกษา ยิ่งส่งโครงการมาก ยิ่งต้องใช้เวลามาก ยิ่งต้องใช้ทรัพยากรมาก ยิ่งต้องเรียนรู้นอกห้องเรียนมาก บางโรงเรียนไม่ทำโครงการ หรือทำแต่น้อย ทำให้มีเวลาในห้องเรียนมากกว่า ปัจจุบัน คุณครูเลือกห้องเรียนให้นักเรียนได้ ว่าอยู่ที่ไหน มองอะไรอยู่ ก้าวไปอย่างไร หรือทำโครงการเพื่อใคร
พราะ ชีวิตคือการแข่งขัน ถ้าคุณครูพานักเรียนไปสู่สนามแข่งขัน แล้วชนะบาย (Win bye) ได้ นั่นอาจเป็นเพราะ ทีมคู่แข่งไม่มาร่วมการแข่งขัน ผู้ไปเข้าแข่งขันย่อมรู้สึกถึงความสำเร็จจากการต่อสู้ที่ไม่มีคู่แข่งเลย ซึ่งมีได้ 2 ความรู้สึก คือ โล่งใจเหมือนยกภูเขาออกจากอก กับ เสียดายที่ไม่ได้แสดงฝีมือที่ฝึกปรือมาอย่างหนัก แต่ถ้ามีคู่แข่งขันมาขึ้นเวทีเพื่อต่อสู้กัน จะได้รับรู้ถึงความท้าทาย ว่าผลงานของเราจะไปอยู่ระดับเหรียญทอง เหรียญเงิน เหรียญทองแดง หรือไม่ได้เหรียญกลับบ้าน จึงเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ว่า ชีวิตย่อมมีแพ้ มีชนะ มีอภัย ซึ่งโรงเรียนในแต่ละเขต คุณครู หรือเพื่อนนักเรียนจากโรงเรียนอื่น เค้าจะพาทีมนักเรียนออกจากห้องเรียน ออกจากโรงเรียน ออกจากเขตพื้นที่ ไปสู่สนามแข่งขันหรือไม่ มีปัจจัยมากมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรที่ต้องใช้ ทัศนคติต่อการแข่งขัน ความคิดเห็นของผู้ปกครอง ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวนคุณครู หรือ จำนวนนักเรียน ต่อรายการแข่งขันเหล่านั้น ซึ่ง สรุปได้ว่า ชีวิตคือการแข่งขัน และ ผู้ชนะคือผู้ที่ทำได้สำเร็จ ส่วนผู้ที่ไม่มาแข่งขัน เขาอาจทำอย่างอื่นที่เห็นว่าสำคัญกว่าก็ได้ เพราะ เรื่องที่สำคัญสำหรับแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป
ะบบสารสนเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน จังหวัดลำปาง โดย ผู้ดูแลระบบ : ครูศิวดล กุลฤทธิกร และ ครูอภิญญา ทะแกล้วพันธุ์ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย จังหวัดลำปาง ออกแบบกราฟิก : ครูบุศรินทร์ เหมทานนท์ โรงเรียนเกาะคาวิทยาคม จังหวัดลำปาง
Thaiall.com