thaiall logomy background ส่องเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษาของไทย
my town
การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษาของไทย

การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การชี้วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐาน และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจเหล่านั้นได้ทั้งหมด ส่วน คุณภาพ คือ การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม
การเรียนรู้เชิงรุก | การศึกษา | นักศึกษา | Admission | GAT/PAT | ONET | 9 วิชาสามัญ | ครูคืนถิ่น | มหาวิทยาลัย | ห้องเรียนในอนาคต | Utopia | หลักสูตรฐานสมรรถนะ | สมรรถนะดิจิทัล | วิทยาการคำนวณ | ศีล 5 | กยศ | มีเหตุมีผล | พ.ร.บ. | อาชีพในฝัน | wordwall | genially |
นิยามศัพท์ คุณภาพการศึกษา
คุณภาพ หมายถึง ลักษณะที่ดีเด่นของบุคคลหรือสิ่งของ [พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542]
คุณภาพ หมายถึง การดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ต้องการ โดยคำนึงถึงการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า และมีต้นทุนการดำเนินงานที่เหมาะสม [im2market]
การศึกษา (Education) คือ กระบวนการที่สนับสนุนการเรียนรู้ หรือการได้มาซึ่งความรู้ ทักษะ คุณค่า ความเชื่อ และนิสัย วิธีการศึกษามีทั้ง การเล่าเรื่อง การทำกลุ่มอภิปราย การสอน การอบรม และการวิจัยทางตรง การศึกษามักถูกเข้าใจว่าเป็นการชี้แนะของผู้ให้การศึกษา แล้วผู้เรียนก็ต้องศึกษาด้วยตัวของเขาด้วย การศึกษาสามารถจัดแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่จะทำให้เกิดประสบการณ์ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อการคิด การรู้สึก หรือพฤติกรรม ก็ถือเป็นการศึกษาได้ [wiki]
การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การชี้วัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการอุดมศึกษา มาตรฐาน และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจเหล่านั้นได้ทั้งหมด [ตีความจาก คู่มือฯ หน้า 19]
ส่วนนิยาม ที่ ม.มหิดล พบว่า คุณภาพการศึกษา หมายถึง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตาม ปณิธานและภารกิจของการจัด การศึกษาระดับอุดมศึกษาตามนโยบายการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ ตลอดจนปณิธานและ ภารกิจเฉพาะในการจัดการศึกษาของแต่ละสถาบัน และ การประกันคุณภาพการศึกษา (QUALITY ASSURANCE) หมายถึง การทำกิจกรรม หรือ การปฏิบัติภารกิจหลักอย่างมีระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยมีการควบคุมคุณภาพ (QUALITY CONTROL) การตรวจสอบคุณภาพ (QUALITY AUDITING) และการประเมิน คุณภาพ (QUALITTY ASSESSMENT) จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนีชี้วัด ระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา ประกอบด้วยการ ประกันคุณภาพภายใน และการประกันคุณภาพภายนอก
Download คู่มือ
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา ฉบับปีการศึกษา 2557
ฉบับเผยแพร่ล่าสุด ผ่านเว็บไซต์ สกอ. (ใหม่ #1) (ในแทรก #1)
- 12มี.ค.58 (ล่าสุด) - 21พ.ค.57 - รายชื่อกรรมการตรวจประเมินขึ้นทะเบียนกับ สกอ.
dqe.mhesi.go.th - ฟอร์ม มคอ.7 ปี 2557
การบ้านให้ทำก่อนเข้าอบรมหลักสูตรผู้ประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และ เอกสารอบรม การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของหลักสูตร - มคอ.7 - rmuti
http://www.mua.go.th/users/tqf-hed/news/news7.php
ภารกิจหลัก 4 ประการ และมาตรฐาน 3 ด้าน ระดับอุดมศึกษา พบใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 11 กล่าวว่า "ภารกิจหลักที่สถาบันอุดมศึกษาจะต้องปฏิบัติมี 4 ประการ คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม" หน้า 15 กล่าวว่า "ที่ปรากฏตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2549 ประกอบด้วยมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิต มาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษา และมาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ และสังคมแห่งการเรียนรู้"

4 ก.ค.59 : คำอธิบายเพิ่มเติมคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
กองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา
การแบ่งประเภทตัวบ่งชี้ในระดับหลักสูตร
โดยสรุปแล้ว ตัวบ่งชี้คุณภาพระดับหลักสูตรมี 13 ตัวบ่งชี้ ถ้าไม่นับการกำกับมาตรฐาน
เป็นตัวบ่งชี้ระบบหรือกระบวนการ มีจำนวน 7 ตัวบ่งชี้
- ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา *
- ตัวบ่งชี้ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา *
- ตัวบ่งชี้ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ *
- ตัวบ่งชี้ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร *
- ตัวบ่งชี้ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน *
- ตัวบ่งชี้ 5.3 การประเมินผู้เรียน *
- ตัวบ่งชี้ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ *

และตัวบ่งชี้ผลลัพธ์ 3 ตัวบ่งชี้
- ตัวบ่งชี้ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา ข้อมูลคงอยู่ สำเร็จ ข้อร้องเรียน และเทียบเคียงที่อื่น
- ตัวบ่งชี้ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ ข้อมูลคงอยู่ สำรวจความพึงพอใจ เทียบเคียงที่อื่น
- ตัวบ่งชี้ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ รายงานผลตัวบ่งชี้ในมคอ.7 100%=5

และตัวบ่งชี้เชิงปริมาณ 3 ตัวบ่งชี้
- ตัวบ่งชี้ 2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีผลประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิตตาม 5 ด้านในหลักสูตร เต็ม 5
- ตัวบ่งชี้ 2.2 การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษา มีผลสำรวจการมีงานทำ 100%=5 ส่วนโทเอกใช้ผลงานนำเสนอ
- ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์ สัดส่วน ป.เอก


โดยสรุปแล้ว วิทยากรได้ให้ข้อมูลว่า
หลักสูตรในสถาบันการศึกษาบางแห่งมักไม่มีระบบ หรือกระบวนการของตนเอง
จึงไม่ได้ทำตามกระบวนการ ไม่ประเมินกระบวนการ ไม่ปรับกระบวนการ
แล้วไม่เห็นผลเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนจากการปรับกระบวนการ
กลุ่มระบบที่เสมือนอีกกลุ่มแนวทางการดำเนินงานของหลักสูตร
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยเนชั่น ได้ให้แนวทางเป็นระบบ หรือกระบวนการทำงาน ที่สอดรับกับองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ไว้ทั้งหมด 8 ระบบ ดังนี้ 1) ระบบการรับและการแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตรและบุคลากร p.155 [k4.1] 2) ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์และบุคลากร p.156 [k4.1] 3) ระบบกลไกการรับนักศึกษา p.161 [k3.1] 4) ระบบการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาด้านกิจกรรม p.165 [k3.2] 5) ระบบการพัฒนา/ออกแบบหลักสูตร p.183 [k5.1] 6) ระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน p.184 [k5.2] 7) ระบบการประเมินผู้เรียน p.185 [k5.3] 8) ระบบการดำเนินงานการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ p.192 [k6.1]
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
ต.ย. ฟอร์ม มคอ.7 +แบบฟอร์มประเมินผล(word) ศิลปากร ต.ย. เอกสารคู่มือ(1) แบบฟอร์มหรือ template ในรูปของ word สำหรับ การเขียนรายงานผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2557 หรือ มคอ.7 (2) และแบบฟอร์มการรายงานผลกรรมการประเมิน (3) ของสำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร ปรับปรุง 20 พ.ค.2558
su.ac.th - qa2557/curriculum-2557-20-5-58(word).rar
ต.ย. การเขียน มคอ.7 และสถาบัน ของ ม.นานา จากการเข้าอบรมการปรเมินหลักสูตร กับ สกอ. ที่เชียงใหม่ แล้วพิจารณา มคอ.7 ของ ม.นานา ร่วมกับเพื่อนผู้ประเมินจากสถาบันต่าง ๆ จึงรวมกันเป็นกลุ่มย่อยได้ 10 กลุ่ม แล้วร่วมกันวิพากษ์ และฝึกให้คะแนน มีผลแยกเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ดังนี้ องค์ 1 องค์ 2 องค์ 3 องค์ 4 องค์ 5 และ องค์ 6 พบว่า ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา เขียนเป็นตัวอย่างได้ดี จึงมีคะแนนไปถึงระดับ 4 จากคะแนนเต็ม 5 มีถึง 8 กลุ่มใน 10 กลุ่ม ถ้าท่านใดกำลังหาแนวการเขียนรายงาน สำหรับตัวบ่งชี้ที่เป็น rubric ใน มคอ.7 เสนอให้ดูจากตัวบ่งชี้ 3.1 แล้วประยุกต์ให้เข้ากับระบบที่ท่านดูแลอยู่ ซึ่งพบในหน้า 6 และหน้า 7 โดยมีรายละเอียดน่าสนใจดังนี้
1. พบว่าทั้งประเด็นการรับนักศึกษา และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา มีการเขียนรายงานขั้นตอน และรายงานการดำเนินงานตามขั้นตอน ตอบเป้าหมายของตัวบ่งชี้ได้ชัดเจน
2. มีการทบทวนกระบวนการรับนักศึกษา พบปัญหา คือ "คะแนนเฉลี่ยของกรรมการอาจทำให้คะแนนไม่สะท้อนศักยภาพที่แท้จริงของผู้สมัคร"
3. นำผลการทบทวนมาพัฒนา "โดยปรับการดำเนินการในการสัมภาษณ์ ให้กรรมการอภิปรายผลการสัมภาษณ์ของผู้สมัครแต่ละรายและให้คะแนนร่วมกัน"
4. นำระบบใหม่ที่ ได้ปรับการสัมภาษณ์และเพิ่มการทดสอบวิชาด้านระบบสารสนเทศมาใช้ ผลคือ ได้นักศึกษาที่มีศักยภาพจำนวน 38 คน
5. รูปธรรมหลังปรับปรุง คือ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการเรียนของเด็กภาค 1 และภาค 2 พบว่าทักษะทางปัญญาของเด็กที่เข้าภาค 2 ดีกว่า
6. ถ้าเห็นว่าระบบใหม่ หรือการดำเนินการที่ผ่านมา เป็นแนวปฏิบัติที่ดี ก็เขียนอธิบายเหตุผล และให้คะแนน 5 ไปครับ หน้า 6 หน้า 7
ตัวอย่างการเขียนระบบ หน้า 6 และ 7 ตัวบ่งชี้ 3.1 ของ ม.นานา
แบบฝึกหัด การเขียนรายงานผลการดำเนินงาน ของ ม.นานา
แบบฝึกหัด การเขียน มคอ.7 รายงานผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร
บริการช่วยคำนวณคะแนนตามสัดส่วน น.ศ./อาจารย์ p.82
ตามตัวบ่งชี้ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
จำนวนนักศึกษา (FTES) จำนวนอาจารย์
สัดส่วนตามเกณฑ์กลุ่มสาขาคลิ๊กปุ่มสีเหลือง
- วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- วิทยาศาสตร์กายภาพ
- วิศวกรรมศาสตร์
- สถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง
- เกษตร ป่าไม้ และประมง
- บริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว เศรษฐศาสตร์
- นิติศาสตร์
- ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
- ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์
- สังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์
ตารางสรุปการกำหนดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1) 14 มาตรฐาน (25 ก.ค.57)
ตารางสรุปการกำหนดคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตรที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1) 14 มาตรฐาน (25 ก.ค.57)
แผนภาพ
รายชื่อองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้
หลักสูตร มี 6 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ [p.29]
สิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะมี
องค์ประกอบ 1 การกำกับมาตรฐาน
ตัวบ่งชี้ 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด โดย สกอ.
ต้องครบทุกข้อ มิเช่นนั้นได้ 0 ในระดับหลักสูตร แต่ต้องทำรายงานใน 5 องค์ที่เหลือต่อไป
เกณฑ์ที่ 1 จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตรมีรายชื่ออาจารย์ รหัสบัตรประชาชน และวันที่เข้าทำงาน
เกณฑ์ที่ 2 คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตรมีรายชื่ออาจารย์ และตารางเปรียบเทียบจำนวนหน่วยกิตที่ตรงกับหลักสูตรของแต่ละท่าน
เกณฑ์ที่ 3 คุณสมบัติของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีชื่ออาจารย์ และคุณวุฒิป.เอก อย่างน้อย 3 คนที่ตรง
เกณฑ์ที่ 4 คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอนมีชื่ออาจารย์ คุณวุฒิป.เอก และมีทั้งประสบการณ์การสอน และการวิจัย
เกณฑ์ที่ 5 คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระมีชื่ออาจารย์ คุณวุฒิป.เอก และมีประสบการณ์การวิจัย
เกณฑ์ที่ 6 คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม (ถ้ามี)มีชื่ออาจารย์ คุณวุฒิป.เอก และมีประสบการณ์การวิจัย
เกณฑ์ที่ 7 คุณสมบัติของอาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์มีชื่ออาจารย์ คุณวุฒิป.เอก และมีประสบการณ์การวิจัย
เกณฑ์ที่ 8 การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษา(แผน ก) proceeding หรือ journal
เกณฑ์ที่ 9 ภาระงานอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษาTH1:5 หรือ IS1:15
เกณฑ์ที่ 10 อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษามีผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ1 เรื่องทุกรอบ 5 ปี
เกณฑ์ที่ 11 การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนดปรับใน 5 ปีใช้ปีที่ 6
เกณฑ์ที่ 12 การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติทำตัวบ่งชี้ TQF 1 - 5
ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1 อาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานหลักสูตรมีรายงานสิ้นปี ว่ามีการประชุมการดำเนินงานหลักสูตรกี่ครั้ง แต่ละครั้งมีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 2 มีรายละเอียดของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (ถ้ามี)มี มคอ.2 ที่ได้รับการรับทราบจาก สกอ.
ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 3 มีรายละเอียดของรายวิชา และรายละเอียดของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.3 และ มคอ.4 อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาให้ครบทุกวิชามีรายงานการประชุมก่อนเปิดภาคเรียน ว่าได้จัดทำ มคอ.3 ครบตามที่เปิดสอน
ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 4 การจัดทำรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา และรายงานผลการดำเนินการของประสบการณ์ภาคสนาม (ถ้ามี) ตามแบบ มคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดภาคการศึกษาที่เปิดสอนให้ครบทุกรายวิชามีรายงานการประชุมสิ้นภาค ที่พูดคุยหลังได้ มคอ.5 ครบ
ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 5 จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร ตามแบบ มคอ.7 ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดปีการศึกษามีรายงานการประชุมสิ้นปี ที่แสดงถึงการนำรายงานผล มาพูดคุยร่วมกัน
องค์ประกอบ 2 บัณฑิต
ตัวบ่งชี้ 2.1 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติมีผลประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิตตาม 5 ด้านในหลักสูตร เต็ม 5
ตัวบ่งชี้ 2.2 การได้งานทำหรือผลงานวิจัยของผู้สำเร็จการศึกษามีผลสำรวจการมีงานทำ 100%=5 ส่วนโทเอกใช้ผลงานนำเสนอ
องค์ประกอบ 3 นักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษาข้อมูลคงอยู่ สำเร็จ ข้อร้องเรียน และเทียบเคียงที่อื่น (เกณฑ์ 3 ข้อ)
องค์ประกอบ 4 อาจารย์
ตัวบ่งชี้ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์ *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 4.2 คุณภาพอาจารย์สัดส่วน ป.เอก
ตัวบ่งชี้ 4.3 ผลที่เกิดกับอาจารย์ข้อมูลคงอยู่ สำรวจความพึงพอใจ เทียบเคียงที่อื่น (เกณฑ์ 3 ข้อ)
องค์ประกอบ 5 หลักสูตร การเรียน การสอน การประเมินผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 5.3 การประเมินผู้เรียน *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติรายงานผลตัวบ่งชี้ในมคอ.7 100%=5
องค์ประกอบ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ *
เกณฑ์ระบบ และกลไก 6 ข้อ
คณะ มี 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ [p.74]
สิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะมี
องค์ประกอบ 1 การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวมนำผลมาจากทุกหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.2 อาจารย์ประจำคณะที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกสัดส่วน ป.เอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 อาจารย์ประจำคณะที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสัดส่วน ตำแหน่งวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสัดส่วน นักศึกษาต่ออาจารย์
ตัวบ่งชี้ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 1.6 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
องค์ประกอบ 2 การวิจัย
ตัวบ่งชี้ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ #
ตัวบ่งชี้ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์เงินสนับสนุนการวิจัย
ตัวบ่งชี้ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยจำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ
องค์ประกอบ 3 การบริการวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
องค์ประกอบ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 7 ข้อ
องค์ประกอบ 5 การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ 5.1 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของคณะ
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 7 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 5.2 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 5 ข้อ
มหาวิทยาลัย มี 5 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ [p.100]
สิ่งที่ถูกคาดหวังว่าจะมี
องค์ประกอบ 1 การผลิตบัณฑิต
ตัวบ่งชี้ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวมนำผลมาจากทุกหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.2 อาจารย์ประจำสถาบันที่มีคุณวุฒิปริญญาเอกสัดส่วน ป.เอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 อาจารย์ประจำสถาบันที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการสัดส่วน ตำแหน่งวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
องค์ประกอบ 2 การวิจัย
ตัวบ่งชี้ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 2.2 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ค่าเฉลี่ยจากคณะ (เงินสนับสนุนการวิจัย)
ตัวบ่งชี้ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยค่าเฉลี่ยจากคณะ (จำนวนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ)
องค์ประกอบ 3 การบริการวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 3.1 การบริการวิชาการแก่สังคม
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 6 ข้อ
องค์ประกอบ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 4.1 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 7 ข้อ
องค์ประกอบ 5 การบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ 5.1 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของสถาบัน
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 7 ข้อ
ตัวบ่งชี้ 5.2 ผลการบริหารงานของคณะค่าเฉลี่ยจากผลประเมินคณะ
ตัวบ่งชี้ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร และคณะ
มีเกณฑ์เฉพาะตัวบ่งชี้ 5 ข้อ
structure.xlsx
บล็อก : ภาพ 3 ระดับ
บล็อก : ร่างเกณฑ์ ฉบับ 5 พฤษภาคม 2557
ประเด็น - ต้องประเมินทั้งหลักสูตร คณะ และสถาบันทุกปี p.17 ทั้ง 3 ระดับ สถาบันเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการและส่งผลผ่านระบบ che qa online สำหรับกรรมการประเมินหลักสูตร 1 ชุด อาจประเมินได้มากกว่า 1 หลักสูตร หากเป็นหลักสูตรในสาขาวิชาเดียวกัน ในกรณี ต้องการเผยแพร่หลักสูตรที่มีคุณภาพ ต้องตั้งกรรมการอย่างน้อย 3 คน และเกินกึ่งหนึ่งเป็นผู้ทรงภายนอกสถาบัน
ประเด็น - ต้องคัดเลือก น.ศ. ตามคุณสมบัติที่กำหนดในหลักสูตร p.52 เกณฑ์หลักสูตร ตบช.3.1 ชี้ว่า 1) จำเป็นต้องกำหนดคุณสมบัติของนักศึกษาที่สอดคล้องกับลักษณะธรรมชาติของหลักสูตร 2) กำหนดเกณฑ์ที่ใช้คัดเลือก 3) เครื่องมือและวิธีที่ให้ได้ผู้ที่พร้อมทางปัญญา สุขภาพ และจิต ซึ่งสอดคล้องกับ กยศ. ที่ประกาศว่าจะ "คัดกรองคนเก่ง คนดี ให้ได้มีโอกาส" และ "มุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนให้สำเร็จตามหลักสูตร"
บล็อก : องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา การรับนักศึกษา
บล็อก : กยศ. ออกโปสเตอร์ กู้ให้ยาก จ่ายให้ง่าย
ประเด็น - เกณฑ์เต็ม 5 คะแนน ระดับหลักสูตร ที่เป็นกระบวนการ ซ้ำหลายข้อ p.52
การได้ 5 คะแนนในระดับหลักสูตร มีเกณฑ์ 6 ข้อที่ต้องดำเนินการให้ครบ จึงจะได้ 5 คะแนนเต็ม ดังนี้
1. มีระบบ มีกลไก
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ
3. มีการประเมินกระบวนการ
4. มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
5. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
6. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
มี 7 ตัวบ่งชี้ ที่ใช้เกณฑ์เชิงกระบวนการเหมือนกัน ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ ดังนี้
3.1 การรับนักศึกษา
3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร
5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
5.3 การประเมินผู้เรียน
6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ทั้ง 3 ระดับมี 40 ตัวบ่งชี้ แต่มี 7 ตัวบ่งชี้ที่ใช้เกณฑ์เดียวกัน และอยู่ในระดับหลักสูตร
ประเด็น - ระบบและกลไก 2553 กับ 2557 เหมือนกัน p.24
นิยามศัพท์ในคู่มือ ปี 2557
+ ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
+ กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน
+ กระบวนการ (Process) หมายถึง กิจกรรมที่ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอนของแต่ละหน่วย และประสานกันเป็นลำดับภายในระบบ เช่น กระบวนการออกข้อสอบ กระบวนการพิมพ์ข้อสอบ กระบวนการสอบสัมภาษณ์ กระบวนการสอบข้อเขียน กระบวนการประกาศผล กระบวนการปฐมนิเทศ ซึ่งทั้งหมดอยู่ในระบบรับนักศึกษา
บล็อก : ตัวอย่างระบบที่มีองค์ประกอบของระบบ หรือกระบวนการ
ระบบ .. ที่สถาบันการศึกษาต้องนำเสนอจะต้องปรับปรุงทุกปีตามคู่มือฯ 2557 - 2561 ระบบที่ดีจะต้องมีพัฒนาการ ดังนี้ เมื่อมีระบบที่เผยแพร่แล้ว ก็ต้องมีการดำเนินการ หากใช้ระบบไปแล้ว ก็ต้องมีการประเมิน แล้วนำผลประเมินมาปรับปรุง ซึ่งก็ต้องมีผลการปรับปรุงที่ดีขึ้น หากระบบนั้นดีจริงก็ต้องสะท้อนถึงการปฏิบัติที่ดีหรือเป็นเลิศได้ หากภาพที่ใช้เว็บวงจรเดียวก็จะมองไม่เห็นพัฒนาการ แต่ถ้าเป็นวงจรหลายวงซ้อนกัน และมีความแตกต่างชัดเจนก็จะสะท้อนระบบที่มีการปรับปรุงได้ชัดเจน

ขั้นตอนการทำงานของระบบการส่งและพิจารณาบทความผ่านทางเว็บไซต์
การใช้ sequence diagram ของ UML ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของขั้นตอนและกลไกได้ชัดเจน
ประเด็น - การบริหารจัดการที่มีคุณภาพของคณะ และสถาบัน มีเกณฑ์ 7 ข้อเท่ากัน p.97,118 เกณฑ์ทั้ง 7 ข้อของคณะและสถาบัน มีความคล้ายคลึงกัน .. ต้องทำครบ 7 ข้อจึงจะได้ 5 คะแนนเต็ม
1. มีแผนกลยุทธ์ที่มาจากผลการวิเคราะห์ SWOT ที่เชื่อมกับวิสัยทัศน์
2. วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน
3. บริหารความเสี่ยง ตามพันธกิจ และลดระดับความเสี่ยงลง
4. บริหารตามหลักธรรมาภิบาล 10 ประการ
5. การจัดการความรู้ด้านการผลิตและด้านการวิจัย
6. ติดตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร
7. มีการประกันคุณภาพตามระบบและกลไก
ประเด็น - เสนอกิจกรรมที่จะผ่านเกณฑ์ระบบทั้ง 7 ตัวบ่งชี้ มี 7 ตัวบ่งชี้ที่ใช้เกณฑ์เหมือนกัน มากกว่าครึ่งหนึ่งในเกณฑ์ระดับหลักสูตร (7 ใน (13 + 1)) จึงต้องเข้าใจในรายละเอียดเพื่อให้ได้คะแนนเต็ม 5 จากทั้ง 7 ตัวบ่งชี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีคนทำงานร่วมกันในแต่ละเกณฑ์ พร้อมหลักฐานที่ชัดเจน
1. มีระบบ มีกลไก เสนอว่า .. ต้องมีเอกสารที่แสดงถึงขั้นตอนที่หมายถึงระบบ แล้วประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน การจะเป็นระบบที่สมบูรณ์ต้องมีขั้นตอนที่สะท้อนกิจกรรมเรื่อง input, process, output และ outcome โดยเฉพาะ outcome จะต้องสะท้อนว่าผลที่ได้กลับมาแล้ว จะนำไปสู่การพัฒนาเป็น input ใหม่ได้อย่างไร ตัวอย่าง ระบบและกลไกงานทำนุบำรุงศิลปฯ ที่แสดงถึงคน กิจกรรม และผล แล้วได้ outcome ซึ่งหมายถึงการนำผลประเมินมาปรับปรุงแผนงาน ระบบ กลไก และกระบวนการ
ซึ่งหลักฐานน่าจะเป็นเอกสารประกาศขั้นตอน และคำสั่งแต่งตั้ง และรายงานการนำผลประเมินมาปรับปรุงระบบใหม่
ระบบมักใช้ flowchart แต่ถ้าเขียนด้วย sequence diagram จะมีความชัดเจนมาก
บล็อก : ตัวอย่างระบบที่มีองค์ประกอบของระบบ หรือกระบวนการ
2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ เสนอว่า .. หากมีระบบและกลไก ก็ต้องมีรายงานการประชุม หรือการทำงาน หรือหลักฐานว่าทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และเป็นการทำงานอย่างสมเหตุสมผลตามขั้นตอน หากไม่มีหลักฐานก็แสดงว่าไม่ได้ทำ
ซึ่งหลักฐานน่าจะเป็นรายงาน ภาพถ่าย หรือบันทึกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. มีการประเมินกระบวนการ เสนอว่า .. เนื่องจากกระบวนการเป็นรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ทำให้การประเมินสามารถทำได้หลายวิธี แต่เสนอว่าใช้การประชุมประเมินผลแบบ KM โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องมาสะท้อนปัญหา และข้อค้นพบ เป็นการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่อาจมีข้อมูลประกอบ อาทิ แบบสอบถามความพึงพอใจ + ข้อมูลจากกล่องรับความคิดเห็น + สรุปการดำเนินงานในแต่ละกระบวนการ แล้วนำมาพูดคุย ที่มีลำดับตามขั้นตอน และกระบวนการที่แต่ละคนรับผิดชอบ สิ่งที่ได้อาจเป็นจุดเด่น แนวทางแก้ปัญหา หรือข้อเสนอแนะ ที่มีการบันทึกที่ชัดเจน
ซึ่งหลักฐานน่าจะเป็นรายงานการประชุมประเมินกระบวนการ
4. มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน เสนอว่า .. เมื่อได้ข้อมูลจุดเด่น ข้อเสนอแนะ โอกาสในการพัฒนา แนวทางแก้ปัญหา หรือประเด็นปัญหาที่มาจากเวทีประเมินกระบวนการ ก็จัดการประชุมสรุปผลที่นำรายงานผลการประเมิน มาสรุปว่ามีประเด็นอะไรบ้าง ปัญหาใดต้องแก้ไขอย่างไร อะไรเป็นจุดเด่นที่ต้องรักษา กิจกรรมใดต้องเปลี่ยนแปลง ผลการประชุมอาจได้แผนการปรับปรุง สรุปแนวทางแก้ไข เป็นขั้นตอน หรือกระบวนการใหม่ที่สะท้อนการพัฒนาระบบ
ซึ่งหลักฐานน่าจะเป็นรายงานการประชุมสรุปผล
5. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม เสนอว่า .. เมื่อมีการปรับปรุงจากผลการประเมินก็ต้องมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุงมีความแตกต่างกันอย่างไร
ซึ่งหลักฐานน่าจะเป็นรายงานการประชุมสรุปผล ที่ระบุชัดเจนว่าก่อนและหลังต่างกันอย่างไร
6. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน เสนอว่า .. ใน 5 ข้อแรกถ้าเขียนได้ชัดเจนมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ก็จะทำให้กรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถเห็นภาพและนำมาอธิบายได้ว่า อะไรคือ แนวปฏิบัติที่ดีได้อย่างชัดเจน
ซึ่งหลักฐานเป็นการเขียนชี้นำกรรมการว่าอะไรคือแนวปฏิบัติที่ดีที่เรามองเห็น
ประเด็น - ตัวอย่างระบบการเรียนในหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ตามปฏิทินการศึกษา การเป็นนักศึกษาในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา มักจะได้รับทราบถึงประกาศระบบการเรียนในแต่ละหลักสูตร ซึ่งมีขั้นตอนที่ได้รับจากอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้นักศึกษารู้ว่ามีขั้นตอนอย่างไรในแต่ละภาคเรียน ตัวอย่างนี้ล้อตาม ปฏิทินการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา 1 สัปดาห์ก่อนเปิดภาคเรียน
2. ยื่นลงทะเบียนเรียน ที่สำนักทะเบียน
3. ยื่นขอเพิ่ม/ขอเลิกวิชาเรียน ที่สำนักทะเบียน
4. เข้าเรียนตามกำหนดการ และสถานที่ในแต่ละวิชา
5. เข้าสอบกลางภาค
6. ยื่นขอเพิกถอนวิชา กรณีไม่พร้อม ที่สำนักทะเบียน
7. เข้าสอบปลายภาค
8. เข้าสอบ English Proficiency Test
9. เข้าสอบ IT Examination ก่อนขึ้นปีการศึกษาที่ 3
10. เข้าประเมินการเรียนการสอนแต่ละวิชา ผ่านเว็บไซต์ (หลักสูตร 5.3)
11. เข้าประเมินสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ผ่านเว็บไซต์ (หลักสูตร 6.1)
12. เข้าประเมินการบริการนักศึกษา ผ่านเว็บไซต์ (คณะ 1.5)
13. นำผลการเรียนมาพิจารณาวางแผนในภาคเรียนต่อไป
ประเด็น - ตัวอย่างกระบวนการสหกิจศึกษา หน้า 35 ในหนังสือประมวลสาระชุดฝึกอบรม สหกิจศึกษา ที่จัดทำโดยสมาคมสหกิจศึกษาไทย เมื่อปี 2552 พบว่าหน้า 52 มี แผนภูมิแสดงกระบวนการสหกิจศึกษาของสถานศึกษา เขียนแบบ mindmap ที่มองดูแล้วเป็นระบบที่มีทั้ง input process output และ outcome ที่ส่งกลับไปยังสถานประกอบการ และสถานศึกษาหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน ในส่วนของก่อนเข้าสหกิจศึกษามีการเตรียมการ 9 ขั้นตอน คือ การเตรียมความพร้อมให้นักศึกษา การพิจารณาคุณสมบัตินักศึกษา การจัดหางานคุณภาพ การประกาศงานให้นักศึกษาทราบ การคัดเลือกนักศึกษา การประกาศผลการคัดเลือก การประชุมร่วมกันระหว่างคณาจารย์นิเทศ ผู้นิเทศงาน และนักศึกษา การประกันอุบัติเหตุให้นักศึกษา การทำจดหมายส่งตัวนักศึกษา และหากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถ คลิ๊กเข้าไปอ่านในเอกสารได้
ประเด็น - ต้นทุนต่อหน่วย กับข้อมูลในฐานข้อมูล เกณฑ์ที่ 2 ตัวบ่งชี้ 5.1 ระดับคณะ ระบุว่าให้วิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน มีการคำนวณต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร ซึ่งเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ของสกอ. ที่มีบริการข้อมูลประกอบการวางแผนเพื่อการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา สามารถสืบค้นข้อมูลค่าใช้จ่ายแต่ละหลักสูตรของทุกสถาบัน โดยกำหนดปี ประเภทสถาบัน ชื่อสถาบัน หลักสูตร และสาขาได้เลย
gotouni.mua.go.th/web/ctrProgram.php
ประเด็น - คุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตร กับ อัตราส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ พบประกาศเพิ่มเติมของสกอ. ที่จะต้องนำมาพิจารณาตาม เกณฑ์ที่ 2 ตัวบ่งชี้ 1.1 ระดับหลักสูตร "คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร" ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ในประกาศ เช่น มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2552 ระบุว่า สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ มีรายวิชาที่ได้ศึกษามาทั้งในระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาทางธุรกิจไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต และสาขาวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต หรือมีรายวิชาที่ได้ศึกษามาทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโท ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์ไม่ต่ำกว่า 30 หน่วยกิต และมีประสบการณ์ในการทำงานสายอาชีพคอมพิวเตอร์ในองค์กรธุรกิจอย่างน้อย 5 ปี และ ตัวบ่งชี้ 1.4 ระดับคณะ "จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ" ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ในประกาศ เช่น มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาโลจิสติกส์ พ.ศ.2552 กำหนดไว้ 1:35 หรือในคู่มือหน้า 81 เป็นต้น
ตารางสรุปการกำหนดสัดส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษาที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1) 14 มาตรฐาน (25 ก.ค.57)
ตารางสรุปการกำหนดคุณสมบัติอาจารย์ประจำหลักสูตรที่กำหนดในมาตรฐานคุณวุฒิสาขา/สาขาวิชา (มคอ.1) 14 มาตรฐาน (25 ก.ค.57)
ประเด็น - การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning) ตัวบ่งชี้ 3.2 เกณฑ์ที่ 1 ประเด็นที่ 3 "การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"

แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (21st Century Learning)
และกรอบแนวคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Framework for 21st Century Learning)
กรอบนี้อ้างถึงรูปแบบ (Model) ที่พัฒนามาจากเครือข่ายองค์กรความร่วมมือ
เพื่อทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership For 21st Century Skills)
p21.org/our-work/p21-framework
vcharkarn.com/varticle/60454
thaiall.com/blog/admin/4739/ (NTU Skill)
ประเด็น - ตัวอย่าง (1) ระบบเกี่ยวกับการรับนักศึกษา
ตามตัวบ่งชี้ 3.1 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.52
ประเด็นที่ 1 การรับนักศึกษา
ประเด็นที่ 2 การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
1. แต่งตั้ง/ทบทวน คณะกรรมการรับนักศึกษา ประจำหลักสูตร
2. ประชุมวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
3. ประชุมทบทวน/จัดทำแผนกลยุทธ์การรับนักศึกษา และการรณรงค์รับนักศึกษา
4. เสนอขออนุมัติแผนกลยุทธ์จากคณะกรรมการบริหารคณะฯ
5. เผยแพร่แผนกลยุทธ์การรับนักศึกษา
6. ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการ เป้าหมาย เกณฑ์ และตัวบ่งชี้ความสำเร็จ
7. เสนอขออนุมัติแผนปฏิบัติการ และงบประมาณ
8. เผยแพร่แผนปฏิบัติการให้กับทีมงานได้เข้าใจ เข้าถึง
9. เตรียมข้อมูลของหลักสูตร เพื่อการประชาสัมพันธ์รับนักศึกษา
10. ประชุมทบทวนเงื่อนไขการรับนักศึกษาในโครงการต่าง ๆ
11. ประกาศรับสมัครนักศึกษาตามเกณฑ์หลักสูตร
12. แต่งตั้งคณะกรรมการออกข้อสอบ คุมสอบ ตรวจข้อสอบ ประกาศผลสอบ
13. ประชุมออกข้อสอบ รูปแบบการรับสมัคร หรือเครื่องมือคัดเลือกนักศึกษา
14. จัดพิมพ์ข้อสอบ
15. จัดสอบข้อเขียน
16. จัดสอบสัมภาษณ์
17. ประกาศผลสอบ
18. ปฐมนิเทศนักศึกษา
19. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
20. ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของคณะ
21. ดำเนินการสนับสนุนแผนปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย

22. ติดตามตัวบ่งชี้ของแผนปฏิบัติการระหว่างปีการศึกษา
23. ประเมินความพึงพอใจการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการรับนักศึกษา
24. เปรียบเทียบกับหลักสูตรใกล้เคียง และทำการรวบรวมข้อเสนอแนะ
25. ประเมินผลแผนงาน/โครงการ และประเมินกระบวนการรับนักศึกษา
26. ประชุมถอดบทเรียน ปรับปรุงแผน พัฒนาการบูรณาการกระบวนการ ระบบ และกลไก
27. ประชุมสรุปผลตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการการรับนักศึกษาประจำปี
28. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
* มีอีกหลายขั้นตอนที่ยังไม่ได้ระบุลงไป เช่น ประชุมผู้ปกครอง ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ วันมอบตัว เป็นต้น
ประเด็น - ตัวอย่าง (2) ระบบเกี่ยวกับการพัฒนานักศึกษา
ตามตัวบ่งชี้ 3.2 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.53
ประเด็นที่ 1 การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี
ประเด็นที่ 2 การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ แก่บัณฑิตศึกษา
ประเด็นที่ 3 การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. แต่งตั้ง/ทบทวน คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาให้ครอบคลุม
2. ประกาศรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาแต่ละคน
3. จัดทำแผนควบคุมการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนว ที่มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
4. บันทึกการให้คำปรึกษาของนักศึกษาแต่ละคน
5. ประชุมรายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาในแต่ละหลักสูตร
6. ประกาศรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือค้นคว้าอิสระ
7. จัดทำแผนควบคุมการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือค้นคว้าอิสระ ที่มีกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ
8. บันทึกการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือค้นคว้าอิสระ ของนักศึกษาแต่ละคน
9. ประชุมรายงานสรุปผลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ หรือค้นคว้าอิสระในแต่ละหลักสูตร
10. จัดทำแผนกิจกรรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
11. ควบคุมการดำเนินงานตามแผนงาน
12. ประเมินผลตามแผนงาน/โครงการ
13. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
14. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็น - ตัวอย่าง (3) ระบบเกี่ยวกับการพัฒนาอาจารย์
ตามตัวบ่งชี้ 4.1 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.56
ประเด็นที่ 1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ประเด็นที่ 2 ระบบการบริหารอาจารย์
ประเด็นที่ 3 ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
1. ทบทวน จำนวนอาจารย์ในแต่ละหลักสูตร
2. วางแผนงบประมาณที่สอดรับกับแผนอัตรากำลังที่สอดรับกับการลาศึกษาต่อ
3. วางแผนงบประมาณส่งเสริม/พัฒนาบุคลากร/แลกเปลี่ยนระหว่างสถาบัน
4. ขออนุมัติ และประชาสัมพันธ์แผนงาน/โครงการ
5. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบคัดเลือกอาจารย์
6. ประชุมคณะกรรมการและกำหนดเงื่อนไข
7. ประชาสัมพันธ์ประกาศรับสมัครอาจารย์ใหม่
8. สอบคัดเลือกอย่างเป็นระบบ
9. ประกาศผลสอบ
10. ปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่
11. ประชุมทบทวนอัตรากำลังทุกภาคเรียน เพื่อจัดหาให้พอเพียง
12. ควบคุมการดำเนินงานตามแผนงาน
13. ประเมินผลตามแผนงาน/โครงการ
14. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
15. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็น - ตัวอย่าง (4) ระบบจัดการสาระของรายวิชาในหลักสูตร
ตามตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.66
ประเด็นที่ 1 หลักคิดในการออกแบบหลักสูตร ข้อมูลที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตร และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ประเด็นที่ 2 การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ของสาขานั้น ๆ
ประเด็นที่ 3 การพิจารณาอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
1. ทบทวนหลักสูตรตามรอบเวลา 5 ปี และทุกปีตาม มคอ.7
2. ศึกษาความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อใช้ในการประชุมทุกครั้ง
3. ประชุมพิจารณาการปรับปรุงหลักสูตรทุกภาคเรียน โดยใช้ข้อมูลจาก มคอ.
4. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบหัวข้อวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในแต่ละหลักสูตร
5. ประชุมวางแผน/กรอบการจัดทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ
6. สร้าง/ทบทวนแหล่งเผยแพร่ผลงานทางวิชาการรองรับความต้องการของหลักสูตร
7. สร้าง/ทบทวนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการที่สอดคล้องกับหลักสูตร
8. ควบคุมการดำเนินงานตามแผนงาน
9. ประเมินผลหลักสูตร/วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ
10. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
11. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็น - ตัวอย่าง (5) ระบบจัดการผู้สอนและการเรียนการสอน
ตามตัวบ่งชี้ 5.2 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.67
ประเด็นที่ 1 การพิจารณากำหนดผู้สอน
ประเด็นที่ 2 การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำ มคอ.3 และมคอ.4
ประเด็นที่ 3 การแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับัณฑิตศึกษา
ประเด็นที่ 4 การกำกับกระบวนการเรียนการสอน
ประเด็นที่ 5 การจัดการเรียนการสอนที่มีการฝึกปฏิบัติในระดับปริญญาตรี
ประเด็นที่ 6 การบูรณาการพันธกิจต่าง ๆ กับการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี
ประเด็นที่ 7 การช่วยเหลือ กำกับติดตาม ในการทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระและการตีพิมพ์ผลงานในระดับบัณฑิตศึกษา
1. ทบทวนการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตร
2. ประชุมวางแผนการจัดการเรียนการสอน และกำหนดผู้รับผิดชอบรายวิชา
3. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนและครอบคลุมทุกพันธกิจ
4. ประชุมติดตาม/ประเมินการจัดการเรียนการสอนที่สอดรับกับพันธกิจ
5. ประชุมวางแผนการดำเนินการตามพันธกิจที่บูรณาการพันธกิจด้านต่าง ๆ
6. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการช่วยเหลือ กำกับติดตาม การทำวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในแต่ละหลักสูตร
7. จัดทำแผนงาน/โครงการส่งเสริมสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานในทุกระดับ
8. ควบคุมการดำเนินงานตามแผนงาน
9. กำกับติดตามการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานการเรียนรู้ 1 - 7
10. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอนตามมคอ.
11. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
12. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็น - ตัวอย่าง (6) ระบบประเมินผู้เรียน
ตามตัวบ่งชี้ 5.3 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.69
ประเด็นที่ 1 การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
ประเด็นที่ 2 การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
ประเด็นที่ 3 การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5, 6 และ 7)
ประเด็นที่ 4 การประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
1. ทบทวนการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตร
2. ประชุมวางแผนการประเมินผลการเรียนรู้ฯ การตรวจสอบฯ การกำกับฯ และการประเมินฯ
3. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละประเด็น
4. จัดทำแผนงาน/โครงการครอบคลุมทั้ง 4 ประเด็น
5. ดำเนินการ และติดตามในประเด็นการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบ มคอ.
6. ดำเนินการ และติดตามในประเด็นการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
7. ดำเนินการ และติดตามในประเด็นการกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 6 และ7)
8. ดำเนินการ และติดตามในประเด็นการประเมินวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระในระดับบัณฑิตศึกษา
9. ควบคุมการดำเนินงานตามแผนงาน
10. ประเมินผลทั้ง 4 ประเด็น
11. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
12. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเด็น - ตัวอย่าง (7) ระบบสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ตามตัวบ่งชี้ 6.1 เกณฑ์ที่ 1 ต้องมีระบบ p.73
ประเด็นที่ 1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ประเด็นที่ 2 จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอ และเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
ประเด็นที่ 3 กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและคณาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
1. ทบทวนการดำเนินงานของแต่ละหลักสูตร
2. ประชุมวางแผนเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
3. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบด้านการจัดการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในแต่ละหลักสูตร
4. ประเมินความต้องการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
5. จัดทำแผนงบประมาณ/แผนงาน/โครงการให้ได้มาซึ่งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
6. ติดตั้ง และให้บริการสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
7. ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
8. จัดหาเพิ่มเติมตามผลการประเมิน หากไม่เพียงพอ
9. ประชุมสรุปผลตามประเด็น และปรับปรุงแก้ไข
10. ประชุมกับสถาบันอื่นที่ใกล้เคียงเพื่อเปรียบเทียบและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ความหมายของระบบ และกลไก ระบบ (System) หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฎให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือโดยวิธีการอื่น ๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
กลไก (Mechanism) หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์การ หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน
thaiall.com/blog/burin/78/
กรอบการทำงานของระบบ (Framework of System) เริ่มต้น มักเริ่มต้นที่ปีการศึกษา แต่บางระบบเริ่มต้นในแต่ละภาคเรียน
- แต่งตั้งคณะทำงาน ...
- ทบทวน และจัดทำแผน ...
- ปฏิบัติการ ...
- ติดตาม ควบคุม และรายงาน ...
- ประเมินผล ...
- ประชุมสรุปผลอย่างมีส่วนร่วม ...
- ปรับปรุงตามผลประเมินและข้อเสนอแนะ
* ปรับเพิ่มลดขั้นตอนตามการทำงานจริง แล้วเพิ่มรายละเอียดเชิงกระบวนการในแต่ละขั้นตอนได้
/blog/burin/78/
แบบสอบถาม "ความสุขในการทำประกันคุณภาพของอาจารย์" ผมว่าไม่น่าต่างกับ "ความสุขในการถูกตรวจสอบของสายการบินไทย" 31 มี.ค.58 ได้รับแบบสอบถามของ ผศ.ดร.สุบิน ยุระรัช ที่ส่งแบบสอบถามให้สถาบันอุดมศึกษาเอกชนช่วยกันตอบ สถาบันละ 20 คน ว่าทำประกันคุณภาพนั้น มีความสุขมากน้อยเพียงไร ประเด็นคำถามน่าสนใจ ถ้าทำเสร็จจะเป็นวรรณกรรมอ้างอิงที่ดีสำหรับการทำวิจัยด้านการประกันคุณภาพต่อไป จึงได้คัดลอกแบบสอบถามไว้เรียนรู้ และอาจเทียบเคียงการทำวิจัยเรื่องความสุขในการทำงานด้านอื่นต่อไป
แบบสอบถามที่คัดลอกจาก google form หรือ http://goo.gl/forms/8KseukwBQW
ถ้าเรื่องความสุขในการถูกตรวจสอบของการบินไทย .. ต้องดูข่าวเช้านี้
จากเรื่องเล่าเช้านี้ คุณบรรยง โพสต์ comment เรื่องสอบตกได้ที่โหล่ คะแนนเต็ม 100 ได้แค่ 35.6 แพ้เขมรได้ 42 อินโดได้ 45.1 ส่วนบรูไน พม่า ลาว ได้ 65 เกือบสองเท่าของไทย มาเลเซียผ่านฉลุยได้ 81 สิงค์โปร์ได้ 98.9 การตรวจสอบครั้งนี้ตามมาตรฐาน ICAO ที่เป็นข้อสอบที่ทุกคนรู้ล่วงหน้า แต่การบินไทยขายหน้ายิ่งกว่าเด็ก จากการตรวจสอบเราผ่านแค่ 21 กระบวนการ มีแต่ประเทศด้อยพัฒนาแถวอัฟริกาเท่านั้นที่ได้ต่ำขนาดนี้ แสดงว่า ไม่ทำงาน ไม่เอาใจใส่ ไม่รับผิดชอบ ไม่ ... ฯลฯ ทั้งที่เขาเตือนถึงข้อบกพร่องตลอดมา ทั้งนี้สำนักงาน ICAO ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ นี่เอง มีผลให้หลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี เริ่มห้ามนู่นห้ามนี่ .. แล้วสรุปว่า "หน่วยงานของรัฐไทยด้านนี้ไม่แข็งแรง ชัดเจน ไม่รวดเร็ว" [คลิ๊ป]
? ถ้าถามถึง "ความสุขในการถูกตรวจสอบของสายการบินไทย" .. ผมว่าไม่น่าสูง ส่วนของ ม.เอกชน ต้องรอผลวิจัยครับ ไม่กล้าฟันธง ?
มาตรฐานอื่น - กรมการบินพลเรือนไทยถูก ICAO ลดเกรด
ทุกวงการย่อมมีมาตรฐานที่ใช้ประเมิน
เพื่อให้การบริการเป็นที่พึงพอใจและเชื่อถือได้
แต่ถ้าพูดว่าไม่ได้มาตรฐานก็ไม่เห็นจะเป็นไร ก็อาจเป็นแบบกรมการบินพลเรือนไทย
เมื่อมี.ค.58 กรมการบินพลเรือนไทย ถูกประเมินว่าต่ำกว่าเกณฑ์ของ ICAO
คือ องค์กรรับรองมาตรฐานการบินพลเรือนนานาชาติ
(The International Civil Aviation Organization- ICAO)
เป็นผลให้ถูกจำกัดมากมายในการเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/641751
1 เม.ย.58 ครม.เตรียมใช้ มาตรา 44 ตั้งสถาบันการบินพลเรือนอิสระ แก้ปัญหาถูกลดชั้น
คนเขียนข่าวบอกว่า "เรายังไม่ได้ถูกปรับลดระดับความน่าเชื่อถือจาก ICAO
เขาเพียงแต่มีการแจ้งเตือนมาว่าสิ่งที่ ICAO ได้แจ้งเตือนมาและชี้แจงข้อบกพร่องมาตั้งแต่ปี 2548
เรายังไม่ได้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามที่ ICAO กำหนด"
http://www.prachatai.com/journal/2015/04/58661
31 มี.ค.58 การบินไทย สอบได้ หรือสอบตก .. มีคนสนใจกันเยอะ
โดยเฉพาะคนญี่ปุ่น คนเกาหลี คนจีนก่อนเลย กำลังกังวลว่าชาติอื่นจะสนด้วยรึเปล่า
ถ้าคนไทยสนใจก่อนหน้านี้ ญี่ปุ่นกับเกาหลีกับจีนก็คงไม่ต้องมีมาตรการออกมา
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9580000037358
2 เม.ย.58 พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ทำ MOU ผ่อนปรนอนุโลม 2 เดือนก่อน
แล้วจะตรวจสอบสายการบินด้วยการเช็คซ้ำ (Re-Evaluate) ทั้งหมด 41 สาย
ว่าสายการบินใดจะถูกพักใบอนุญาต ตอนนี้พักใบอนุญาตไปแล้ว 3 สายการบิน
นาที 4.25 บอกว่า "ถ้าเราอยู่ในบัญชีของ ICAO ทำอย่างไรจะปลดออกมา"
http://morning-news.bectero.com/economy/02-Apr-2015/36419
ระบบและกระบวนการ .. หน้าห้องวิชาการ โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
กระบวนการวัดและประเมินผลการเรีรยนรู้
ขั้นตอนการดำเนินการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
กระบวนการตัดสินและแก้ไขผลการเรียนระดับมัธยมศึกษา
กรอบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นตอนการรับบริการกลุ่มงานรังสีวิทยา (การถ่ายภาพรังสีทั่วไป) : สำหรับผู้ใช้บริการ
ขั้นตอนการรับบริการกลุ่มงานรังสีวิทยา (การตรวจพิเศษทางรังสี) : สำหรับผู้ใช้บริการ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10153263388198895&set=a.10150933077238895.437258.814248894
การอบรมหลักสูตรผู้ประเมินระดับภายใน 22-23 พ.ค.58 มีการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินระดับภายใน ระดับหลักสูตร
24 พ.ค.58 มีการอบรมหลักสูตรผู้ประเมินระดับภายใน ระดับคณะ และสถาบัน ที่ โรงแรมเชียงใหม่ ออร์คิด จ.เชียงใหม่ หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจคือ แนวคิดการประเมินแบบพิชญพิจารณ์ (Assessment Concept in Peer Review Type) https://www.facebook.com/groups/thaiebook/480577835426373/
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 69 โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ให้ได้มาตรฐานสากล
http://thainame.net/edu/?p=4205
วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ พบว่า มีทักษะสำคัญ 3 ด้าน 1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ 2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้ 3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น

ในอดีต .. รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้
แต่ยุคสมัยนี้ .. มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential) แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more) เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก "ความรู้ (Knowledge)" ไปสู่ "ทักษะ (Skill)" เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center) เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration) ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process) โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.) เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work) นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development) การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework) การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ .. ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community) เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น "ชุดการเรียนรู้ครู" เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21 PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า
KM 2549 - 2552
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 เมื่อมกราคม 2551
หน้า 76 ตัวบ่งชี้ 7.3 มีการพัฒนาสถาบันสู่องค์การเรียนรู้
project_bpa_km_oct_2561_question.docx
KM 2553 - 2556
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา
พ.ศ.2553
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อกุมภาพันธ์ 2554
หน้า 84 ตัวบ่งชี้ 7.2 การพัฒนาสถาบันสู่สถาบันเรียนรู้
project_bpa_km_oct_2561_question.docx
KM 2557 - 2560
คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา
พ.ศ.2557
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 เมื่อพฤษภาคม 2558
หน้า 120 ระดับคณะ
หน้า 142 ระดับสถาบัน
project_bpa_km_oct_2561_question.docx
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 # การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- ฟังเพื่อนอาจารย์พูดคุยกันอีกครั้ง เรื่อง ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
- พบในคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2557 หน้า 66 ep3 ปกชมพู
- พบว่าเลขหน้าไม่ตรงกับเล่ม ed1 ปี 2558 ที่ผมมีอยู่ ที่อยู่ในหน้า 67 ปกม่วง
- https://qm.kku.ac.th/downloads/hbMUA57ed3.pdf

# ทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. กลุ่มวิชาหลัก (Core Subjects)
2. กลุ่มทักษะชีวิต และอาชีพ (Live and career skills)
3. กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and innovation skills)
4. กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, media and technology skills)

# ทักษะสำคัญที่คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก
- กลุ่มทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1. การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา (Critical thinking and problem solving)
2. นวัตกรรมและการสร้างสรรค์ (Innovation and creativity)
3. การสื่อสารและความร่วมมือกัน (Communication and collaboration)
- กลุ่มทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information , media and technology skills)
1. การรู้สารสนเทศ (Information Literacy)
2. การรู้สื่อ (Media Literacy)
3. การรู้ ICT (ICT Literacy)
(ICT = Information and Communication Technology = เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร)
- กลุ่มทักษะชีวิตและอาชีพ (Life and career skills)
1. ความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุ่น (Adaptability and flexibility)
2. ความคิดริเริ่มและการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Initiative and self-direction)
3. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และข้ามวัฒนธรรม (Social and cross-cultural interaction)
4. ความรับผิดชอบและความสามารถผลิตผลงาน (Accountability and productivity)
5. ความเป็นผู้นำและรับผิดชอบต่อสังคม (Leadership and social responsibility)
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ (KPI - Key Performance Indicator) ชนิดของตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ตาม iqa ซึ่งทุกข้อคะแนนเต็ม 5 คะแนน มีดังนี้
1. กระบวนการ
1.1 ระบบเป็นขั้นตอน เช่น ตัวบ่งชี้ 3.1 การรับนักศึกษา ระดับหลักสูตร (PDCA)
1.2 จำนวนข้อ เช่น ตัวบ่งชี้ 1.5 การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ระดับคณะ
1) จัดบริการให้คำปรึกษาทางวิชาการและการใช้ชีวิตแก่นักศึกษาในคณะ
2) มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
3) จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
4) ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ 1-3 ทุกข้อไม่ต่ำกว่า 3.51 จากคะแนนเต็ม 5
5) นำผลการประเมินจากข้อ 4 มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
6) ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพแก่ศิษย์เก่า
2. ผลลัพธ์ เช่น ร้อยละ 80 ขึ้นไปเท่ากับ 5 คะแนน และคิดคะแนนจากสัดส่วนร้อยละ
3. ผ่าน/ไม่ผ่าน
ระบบที่ดี ต้องมีการกำกับ ติดตาม และรายงานผลการดำเนินงาน ทุกโครงการ ทุกกิจกรรม ทุกนโยบาย ทุกระบบงาน อย่างน้อยต้องมีผู้ดำเนินการ และผู้กำกับติดตามประเมินผล ถ้าโครงการใด ที่ถูกริเริ่มไปแล้ว ต้องมีผู้กำกับ ติดตาม ประเมิน เรียกรวมกันว่าผู้รับผิดชอบ ส่วนผู้ถูกติดตามก็ต้องดำเนินการตามเกณฑ์ แล้วเขียนรายงาน และรับการประเมินผล แล้วปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ โครงการบางลักษณะ อาจดำเนินการและประเมินไปพร้อมกันได้ แต่บางโครงการอาจต้องประเมินตามรอบเวลา ด้วยเงื่อนไขเรื่องงบประมาณ ระยะเวลา และบุคลากร เมื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐาน และดำเนินการไประยะหนึ่ง ครั้งพอถึงเวลา ก็ต้องมีการพัฒนาให้เกณฑ์ทันสมัยยิ่งขึ้น บางเกณฑ์อาจต้องอยู่ต่อ บางเกณฑ์อาจต้องยกเลิก บางเกณฑ์อาจต้องปรับปรุงให้เหมาะสม ซึ่งทั้งหมดเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้กำกับติดตามหลัก ซึ่ง หลักสูตรฐานสมรรถนะ ก็เช่นกัน
การประเมินผู้เรียน มี จุดประสงค์ 3 ประการ ระดับหลักสูตร 2557
การประเมินผู้เรียน มี จุดประสงค์ 3 ประการ ระดับหลักสูตร 2557 สอบได้อันดับ 1
ารประเมินผู้เรียน มี จุดประสงค์ 3 ประการ ระดับหลักสูตร 2557 ตัวบ่งชี้ 5.3 1) Assessment for learning ประเมินความพึงพอใจต่อวิชาและหลักสูตร - ประเมินผู้เรียน แล้วไปปรับวิธีสอนและเนื้อหาของผู้สอน 2) Assessment as learning ประเมินนักเรียนโดยนักเรียน - นักเรียนรู้ว่าบกพร่องอะไร และพัฒนาตนเองได้ จนเกิดการเรียนรู้ มักใช้สอบย่อย/การบ้าน/แบบฝึก 3) Assessment of learning ประเมินตามความคาดหวังของหลักสูตร - ผลิตไปเป็นอะไร แล้วทำได้ไหม และต้องมีหลักฐาน ว่าทำครบทุกจุดประสงค์
#action = #reaction / #no_action / #over_action / #result
9 และ 12 ก.ย.2567 : ครูเบญ พิสูจน์ปม ติดอันดับ 1
อ่านความคิดเห็น : คนสอบได้ที่ 1 จะหายไปเลยได้อย่างไร
Thaiall.com