# 78 ผลงานอีบุ๊คใหม่ของนักเรียนไทย
26 มีนาคม 2550 - 1 เมษายน 2550
ครั้งหนึ่งถูกคุณแม่อุบลเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับมอบหมายให้จัดทำอีบุ๊ค (e-book) เป็นงานชิ้นโบว์แดงก่อนสำเร็จการศึกษา ถามว่าลูกท่านจะสร้างอีบุ๊คต้องใช้โปรแกรมอะไร เมื่อผู้เขียนซักถามถึงรายละเอียดก็ได้คำตอบว่าไม่ทราบ จึงคาดว่าใช้ Acrobat Writer หรือ PDFCreator เพราะเป็นอีบุ๊คที่ได้รับความนิยม แต่ถ้าเป็นอีบุ๊คบนสมาร์ทโฟน (Smart Phone) หรือเครื่องปาร์ม (Palm) ก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่จะหาอุปกรณ์มาใช้ทดสอบได้ ต่อมาทราบชื่อโปรแกรม และข้อมูลจาก ศน.สุทิน ศรวิจิตร์ ว่าโรงเรียนในไทยเริ่มใช้โปรแกรม Flip Publisher สอนนักเรียน มอบหมายให้สร้างอีบุ๊ค และให้เลือกหัวข้อตามความสนใจ เช่น โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กุล และโรงเรียนอนุบาลลำปาง ทำให้นักเรียนได้ค้นคว้า และมีผลงานที่สมบูรณ์เป็นที่ภาคภูมิใจ
อีบุ๊ค คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถถูกเปิดด้วยอุปกรณ์หลายประเภท เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน หรือพีดีเอ (PDA) ในยุกแรกอีบุ๊คนิยมใช้โปรแกรม Acrobat ในการเขียน หรืออ่าน ปัจจุบันอีบุ๊คถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีโปรแกรมให้เลือกใช้มากมาย เช่น Acrobat, Flip Publisher, Desktop Author, Diji Album, Microsoft Reader, Palm, HTML Help Workshop หรือ Plakat e-Book เป็นต้น แฟ้มอีบุ๊คแต่ละประเภทถูกเปิดด้วยโปรแกรมเฉพาะของตน เช่น แฟ้มสกุล .doc ต้องใช้โปรแกรม Microsoft Word หรือแฟ้มสกุล .pdf ต้องใช้โปรแกรม Acrobat Reader หรือแฟ้มสกุล .opf ต้องใช้ Flip Viewer หรือแฟ้มสกุล .dnl ต้องใช้ DeskTop Author
จุดเด่นของ Flip Publisher มีมากมาย ทำให้นักเรียนสร้างอีบุ๊คได้อย่างสมบูรณ์ และสนุกกับความเหมือนจริง โดยรวบรวมข้อมูลแล้วจัดทำเป็นรูปเล่มแบบสื่อผสมทั้งภาพ เสียง และวีดีโอ แล้วนำไปเผยแพร่ในเครื่องบริการเว็บของโรงเรียน เขียนลงในซีดี แล้วนำไปเปิดในเครื่องอื่นได้ง่าย ผลงานที่ได้เสมือนหนังสือ มีความสวยงามแบบสามมิติ เช่น พลิกหน้าเหมือนหนังสือทีละแผ่น การเลือกตามบุ๊คมาร์ค การเลือกพลิกอัตโนมัติ พิมพ์หนังสือออกทางเครื่องพิมพ์ ผลงานแยกเป็นกลุ่มแฟ้มต้นฉบับที่นำกลับมาแก้ไขได้ และกลุ่มแฟ้มนำเสนอที่อ่านได้อย่างเดียว
ถ้ามองโลกในแง่ดีอีบุ๊คอาจช่วยแก้ปัญหาเยาวชนอ่านหนังสือน้อย ช่วยรณรงค์ให้เยาวชนรักการอ่าน เพราะการส่งเสริมให้เยาวชนสร้างอีบุ๊ค ทำให้ต้องค้นคว้าข้อมูล อ่านหนังสือเพิ่มเติม ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฝึกทักษะการเขียนลงหนังสือเสมือนจริง เมื่อนำหนังสือไปเผยแพร่จะทำให้เยาวชนให้การยอมรับหนังสือที่ถูกเขียนโดยเยาวชนด้วยกันง่ายขึ้น เพราะเยาวชนบางคนอาจไม่ชอบหนังสือในโลกแห่งความเป็นจริงที่เขียนโดยนักวิชาการ แต่อาจชอบหนังสือในโลกเสมือนจริงก็ได้ การนำหนังสือเข้าไปหาเยาวชนเป็นมาตรการเชิงรุก แต่ถ้ารอให้เยาวชนหยิบหนังสือมาอ่านเองแบบเชิงรับอาจต้องใช้เวลารณรงค์อีกนานกว่าปัญหาเยาวชนอ่านหนังสือน้อยจะหมดไป
ถ้ามองโลกในแง่ดีอีบุ๊คอาจช่วยแก้ปัญหาเยาวชนอ่านหนังสือน้อย ช่วยรณรงค์ให้เยาวชนรักการอ่าน เพราะการส่งเสริมให้เยาวชนสร้างอีบุ๊ค ทำให้ต้องค้นคว้าข้อมูล อ่านหนังสือเพิ่มเติม ฝึกใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฝึกทักษะการเขียนลงหนังสือเสมือนจริง เมื่อนำหนังสือไปเผยแพร่จะทำให้เยาวชนให้การยอมรับหนังสือที่ถูกเขียนโดยเยาวชนด้วยกันง่ายขึ้น เพราะเยาวชนบางคนอาจไม่ชอบหนังสือในโลกแห่งความเป็นจริงที่เขียนโดยนักวิชาการ แต่อาจชอบหนังสือในโลกเสมือนจริงก็ได้ การนำหนังสือเข้าไปหาเยาวชนเป็นมาตรการเชิงรุก แต่ถ้ารอให้เยาวชนหยิบหนังสือมาอ่านเองแบบเชิงรับอาจต้องใช้เวลารณรงค์อีกนานกว่าปัญหาเยาวชนอ่านหนังสือน้อยจะหมดไป