# 314 ถึงเวลาบล็อกเฟซบุ๊คดอทคอม
พบรายงานว่าจากการสำรวจคนทำงานกว่า 600 คนในต่างประเทศเมื่อปีค.ศ.2007 มีผู้ใช้จำนวนมากที่ถูกจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคม อาทิ เฟซบุ๊ค (Facebook.com) ไฮไฟซ์ (Hi5.com) หรือ ทวิทเตอร์ (Twitter.com) คิดเป็นร้อยละ 43 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ถูกบล็อก แล้วมีบริษัทบางแห่งจำต้องเปิดให้พนักงานเข้าถึงได้ เพราะเกรงการถูกต่อต้าน หรือพฤติกรรมแสดงความไม่พอใจที่รุนแรง เรื่องนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างบริษัทกับผู้ใช้ ซึ่งต่างคนต่างก็มีเหตุผลทุกฝ่าย แต่กระแสค่านิยมจะโอนเอียงไปทางฝ่ายผู้ใช้เป็นผู้ชนะ
มีผู้คร่ำหวอดในวงการความปลอดภัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีบริษัทมากมายจำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์ลักษณะนี้ ซึ่งพนักงานอาจไม่ชอบ แต่เว็บไซต์เครือข่ายสังคมอาจเป็นแหล่งที่ทำให้องค์กรมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยถ้าใช้อย่างไม่ระวัง เว้นแต่ว่าพนักงานจะเข้าถึงเว็บไซต์ตามวัตถุประสงค์ของงาน มีบริษัทมากมายไม่เห็นเหตุผลที่พนักงานต้องเข้าถึงเว็บไซต์เหล่านี้ในเวลางาน นอกจากมีข้อเสียด้านความปลอดภัย และเสียเวลาในการทำงานแล้ว เว็บไซต์เครือข่ายสังคมก็ยังมีข้อดี คือ การเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของพนักงาน
อีกรายงานหนึ่งที่สัมภาษณ์ผู้ดูแลงานด้านไอทีในอเมริการวมกว่า 1400 ตัวอย่าง เมื่อปีค.ศ.2009 พบว่า จำกัดการเข้าถึงเว็บไซต์เครือข่ายสังคมของพนักงานมีร้อยละ 54 อนุญาตให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ขององค์กรมีร้อยละ 19 ไม่อนุญาตให้ใช้ในเรื่องส่วนตัวมีร้อยละ 16 และอนุญาตให้ใช้ได้เต็มที่ในเวลางานมีร้อยละ 10 แล้วพบผลข้างเคียงของการใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมว่าผลผลิตจากงานลดลงกว่าร้อยละ 2 โดยพนักงานส่วนหนึ่งใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเฉพาะที่ทำงานเท่านั้น แม้ข้อมูลเหล่านี้จะมีรายงานมาอย่างต่อเนื่องในหลายปีที่ผ่านมา แต่พฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์เครือข่ายสังคมก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ประกอบการส่วนหนึ่งไม่ทราบ หรือไม่ตระหนักถึงผลข้างเคียงที่กระทบต่อผลผลิตขององค์กร
http://www.pcworld.com/article/136226/worried_companies_block_facebook.html
http://news.techworld.com/personal-tech/3203460/study-says-most-companies-block-facebook-and-twitter/