#532 ค้นก่อนแบ่งปัน
ปัจจุบันคนไทยเข้าถึงเครือข่ายสังคมเกือบสี่สิบล้านคน และมีเลขหมายโทรศัพท์จะเป็นสองเท่าของจำนวนประชากรในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คำว่าคิดก่อนโพสต์นั้นเป็นเรื่องเดิมที่เราต้องตระหนัก แต่มีอีกคำ คือ ค้นก่อนแบ่งปัน (Search before you share) ที่ได้ฟังการบรรยายเรื่อง "การจัดการความรู้ในองค์กรยุคเศรษฐกิจดิจิตอล" จาก อ.ปริญญา หอมเอนก วิทยากรในงานประชุมวิชาการระดับชาติ สังคมความรู้และดิจิตอล ในวันคริสต์มาสปี 2558 ที่มีเจ้าภาพจัดงานประชุม คือ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีเรื่องราวมากมายที่ถูกแชร์ผ่านเครือข่ายสังคม เมื่อเราเห็นด้วยกับเรื่องใดก็มักจะกดไลค์ ถ้าชอบมากก็อาจถึงขั้นแบ่งปัน หรือเผยแพร่ต่อไปให้เพื่อน หรือเพื่อนของเพื่อนได้อ่าน ได้เห็น ได้รู้เหมือนที่เรารู้ แม้เรื่องนั้นเราจะไม่ทราบข้อเท็จจริงก็ตาม มีหลายเหตุการณ์ที่ถูกเตือนว่าให้ตรวจสอบความจริง หรือคิดให้รอบด้านก่อนกดไลค์ หรือแชร์ เช่น ความเห็นทางการเมืองที่บางเรื่องอาจไม่มีมูลความจริง แต่ถูกเขียนขึ้นเพื่อให้ร้ายฝ่ายตรงข้าม หากเรารับข่าวสารที่เป็นเท็จมาแล้ว และแชร์ต่อ หรืออัพโหลดใหม่ในสื่อสังคม ก็ย่อมหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบไม่ได้ ซึ่งเรื่องเหล่านี้พิจารณาได้ง่ายด้วยการดูว่าคนเขียนตั้งใจให้ร้ายใครหรือไม่ หากเป็นข้อมูลเชิงลบที่ให้ร้ายผู้อื่น ไม่ว่าจะจริงหรือเท็จ ก็ไม่ควรกดไลค์ หรือเผยแพร่ต่อ เพราะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องในภายหลัง
ล่าสุดข่าวการเจ็บป่วยของ ปอ ทฤษฎี ที่มีอาการดีขึ้น บางวันก็จะมีข่าวความก้าวหน้าในการรักษา แต่มีคนนึกสนุกเห็นความทุกข์ของผู้อื่นเป็นความสุขของตนเอง แล้วเขียนข่าวปลอมเกี่ยวกับ ปอ ให้เข้าใจผิด ผู้คนในเครือข่ายสังคมที่เห็นข่าวเท็จแล้วรู้สึกเศร้าตามกระแสสังคม ก็พากันกดแบ่งปัน เผยแพร่ไปในวงกว้าง พอทราบทีหลังว่าข่าวนั้นไม่เป็นความจริงก็แก้ไขได้ยาก เมื่อเผยแพร่ไปแล้วไม่อาจเรียกคืนมาได้ สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงคือ ก่อนจะแชร์ข้อมูลใดต้องทำการสืบค้น และตรวจสอบจากข้อมูลหลายแหล่ง เพื่อไม่ให้ตนเองกลายเป็นเหยื่อของข่าวเท็จ และเป็นผู้กระทำการเผยแพร่ข่าวเท็จอีกรายหนึ่ง สิ่งที่ควรตรวจสอบคือทุกข้อมูลในเครือข่ายสังคมที่แบ่งปันกันมา เพราะข้อมูลที่ไม่จริงก็มีอยู่มาก เช่น อันตรายจากผงชูรสก็ไม่จริง หรือโคล่าล้างห้องน้ำได้ก็ไม่จริง
ล่าสุดข่าวการเจ็บป่วยของ ปอ ทฤษฎี ที่มีอาการดีขึ้น บางวันก็จะมีข่าวความก้าวหน้าในการรักษา แต่มีคนนึกสนุกเห็นความทุกข์ของผู้อื่นเป็นความสุขของตนเอง แล้วเขียนข่าวปลอมเกี่ยวกับ ปอ ให้เข้าใจผิด ผู้คนในเครือข่ายสังคมที่เห็นข่าวเท็จแล้วรู้สึกเศร้าตามกระแสสังคม ก็พากันกดแบ่งปัน เผยแพร่ไปในวงกว้าง พอทราบทีหลังว่าข่าวนั้นไม่เป็นความจริงก็แก้ไขได้ยาก เมื่อเผยแพร่ไปแล้วไม่อาจเรียกคืนมาได้ สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงคือ ก่อนจะแชร์ข้อมูลใดต้องทำการสืบค้น และตรวจสอบจากข้อมูลหลายแหล่ง เพื่อไม่ให้ตนเองกลายเป็นเหยื่อของข่าวเท็จ และเป็นผู้กระทำการเผยแพร่ข่าวเท็จอีกรายหนึ่ง สิ่งที่ควรตรวจสอบคือทุกข้อมูลในเครือข่ายสังคมที่แบ่งปันกันมา เพราะข้อมูลที่ไม่จริงก็มีอยู่มาก เช่น อันตรายจากผงชูรสก็ไม่จริง หรือโคล่าล้างห้องน้ำได้ก็ไม่จริง
|