นางสมพร คำฟู
ครูวิทยฐานะชำนาญการ
รร.ไหล่หินวิทยา
หนังสือเผยแพร่ ประวัติวัดไหล่หินหลวง
Let’s go to Wat Laihin Luang
จาก laihinws.ac.th/information/หนังสือเล่มเล็ก.mht
วัดไหล่หินหลวง หรือ วัดเสลารัตนปัพพะตาราม
คือ วัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ เกาะหนึ่ง ในท้องที่หมู่ที่ 2 ต.ไหล่หิน อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ห่างจากตัวอำเภอเกาะคาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 6 ก.ม.เศษ
มีเนื้อที่ธรณีสงฆ์ประมาณ 50 ไร่เศษ สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พุทธศักราช 218
คำปรารภ
ครูสมพร คำฟู ครูชำนาญการโรงเรียนไหล่หินวิทยา อ.เกาะคา จ.ลำปาง ทำหน้าที่สอนวิชาภาษาอังกฤษมานาน
เป็นผู้ที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ เพื่อที่จะนำเทคนิควิธีการมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน จากประสบการณ์สอนนักเรียนขาดทักษะการอ่าน
และไม่ชอบการอ่านจึงได้จัดทำหนังสือเล่มเล็ก เกี่ยวกับวัดไหล่หินหลวง โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องนำมาเขียนเรียบเรียงเป็นนวัตกรรม เรื่อง “Let’s go to Wat Laihin Luang” เป็นบทอ่านอังกฤษสั้นๆ พร้อมบทแปลที่เป็นภาษาไทยและมีการตรวจสอบภาษา
โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของภาษา สามารถใช้เป็นหนังสือประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่ออ่านเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์
ต่อผู้สนใจทั่วไปสำหรับเพื่อการศึกษาค้นคว้า หรือนำความรู้ไปใช้ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นและชุมชนโดยส่วนรวมต่อไป
หวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียน เห็นสมควรให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง
นายธรณินทร์ เมฆศิริ
ผู้อำนวยการโรงเรียนไหล่หินวิทยา
คำนิยม
หนังสือ “Let’s go to Wat Laihin Luang” เล่มนี้สำเร็จได้โดยความชวยเหลือจากบุคคลหลายฝ่ายดังนี้
1. พระอธิการทอง อนามโย เจ้าอาวาสวัดไหล่หิน เป็นผู้ให้เอกสารเผยแพร่วัดไหล่หินหลวงให้แก่ข้าพเจ้า
2. พ่อหลวงแสน อุตโม ผู้อาวุโสแห่งหมู่บ้านไหล่หิน และครูภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติวัดไหล่หินและให้การสนับสนุนการจัดทำหนังสือเล่มนี้
3. Mr. Roy Stannard ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศจากโรงเรียนห้างฉัตรวิทยา และ Mr. Chris Beard จากมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง เป็นผู้ตรวจสอบภาษา
4. อาจารย์ประนอม วงค์หมื่นรัตน์ ประธานสาขาวิชาภาษาอังกฤษอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปางเป็นผู้ให้การสนับสนุน
5. นายทรงศักดิ์ แก้วมูล ประธานสภาวัฒนธรรม อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
6. คณะครูและผู้ร่วมงานที่ได้ให้กำลังใจในการจัดทำหนังสือเล่มนี้
ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้ให้ความช่วยเหลือจนหนังสือเล่มนี้สำเร็จเป็นรูปเล่ม ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญต่อไป
นางสมพร คำฟู
คำนำ
หนังสือเล่มนี้ข้าพเจ้าได้เขียนจากประสบการณ์โดยตรง ในฐานะครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ จากประสบการณ์สอนมานาน
ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากนักเรียนขาดทักษะการอ่าน และไม่มีนิสัยรักการอ่าน จึงได้คิดหาวิธีการที่จะให้นักเรียนได้หันมาสนใจ
ในการอ่าน เพราะการอ่านเป็นประตูสู่ความรู้ทั้งปวง และอยู่คู่กับบุคคลนั้นๆ ไปตลอดชีวิต
อย่างไรก็ตามแรงดลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ซึ่งเป็นฉบับแรกสืบเนื่องมาจากมีบุคคลหลายท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ
วัดไหล่หินหลวง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง ได้เสนอให้ข้าพเจ้าเขียนเกี่ยวกับวัดไหล่หินหลวง
เป็นภาษาอังกฤษ เพราะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นประจำ อนึ่งในการเขียนเกี่ยวกับวัดวาอารามคำศัพท์นับว่าเป็นเรื่องยุ่งยากพอสมควร
ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูล ตลอดจนคำศัพท์จากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเขียน และบทอ่านได้ทำการตรวจสอบโดย
ผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นเจ้าของภาษาจึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเอื้ออำนวยประโยชน์ให้กับการเรียนในการฝึกทักษะการอ่าน และผู้ที่สนใจให้ดียิ่งขึ้น
และยินดีรับคำติชมจากท่านผู้อ่านและผู้สนใจด้วยความยินดีเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตามหากมีสิ่งใดผิดพลาดไปบ้าง ข้าพเจ้าขอกราบอภัยไว้
ณ ที่นี้ด้วย
นางสมพร คำฟู
มกราคม 2551
วัดไหล่หินหลวง
วัดไหล่หินหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง บางที่เรียกกันว่าวัดไหล่หินแก้วช้างยืน
ซึ่งมีชื่อเต็มว่า วัดเสลารัตนปัพพตาราม มีวัตถุโบราณและสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญมากมาย อันประกอบด้วยประตูทางเข้าเป็นรูปโค้งที่เรียกว่า
ประตูโขง เจดีย์ วิหาร ซึ่งวิหารนั้นเป็นสถานที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา และมีกุฏิซึ่งพระสงฆ์ใช้เป็นสถานที่พักอาศัย นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ และ
โรงธรรมซึ่งเป็นสถานที่เก็บคัมภีร์วัดไหล่หินหลวงตั้งอยู่ที่หมู่บ้านไหล่หินตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
ห่างจากอำเภอเกาะคา ประมาณ 5 กิโลเมตร และจังหวัดลำปาง ประมาณ 25 กิโลเมตรบนถนนสาย เกาะคา-นาโป่งหารเป็นที่นิยมแก่
นักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และอยากจะแนะนำให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวชมวัดไหล่หินหลวง
|
The history of Wat Laihin Luang
Wat Laihin Luang is am ancient temple and one of the most important historical in Lampang. It is sometimes referred to
as Wat Lai Hin Kaew Chang Yuen while its full name is Wat Selarattana Pappataram.
It Has many ancient and significant artifacts and features. These include the arched main gate at the entrance-the Pratoo Khong,
the Chedi, the Pra Wihan the metting place and living quarters of the resident monks, the Museum and the Sermon Hall-Rongtham-where
the scriptures are kept.
Wat Lai Hin Luang is located in the village of Lai Hin, Lai Hin sub district, Ko Kha district in Lampang province. It is on
the Ko Kha-Na-Ponghan road, about 5 Kms. From Kho Kha and approximately 25 Kms. From Lampang.
It is very popular with tourists and a visit is highly recommended.
|
|
ประตูโขง
ประตูรูปโค้ง ที่ได้รับการตกแต่งประดับประดาอย่างวิจิตรสวยงาม นั่นคือประตูโขง ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนา
และสถาปัตยกรรมทางศาสนาแบบเชียงแสน ลวดลายรอบๆ ประตูโขงประกอบไปด้วยสัตว์ป่าหิมพานต์ รูปเทพต่างๆ
ตามตำนานในสมัยนั้น ประตูโขง มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในยุคแรกเริ่มของเมืองลำปาง และเป็นสัญลักษณ์ของวัดไหล่หินหลวง
|
Of particular note is the high ornamented arch forming the main gate the Pratoo Khong. It is an excellent example of the early
Lanna artistic style and Chiengsaen religious architecture. It is beautifully decorated depicting wild animals from the Himmapan forest,
demigods and other figures from legend. The main gate is characteristic of an early period in Lampang’s history and is the symbol
of Wat Laihin Luang.
|
|
วิหาร
วิหารเป็นสถานที่ปลูกสร้างแห่งหนึ่งที่อยู่ในบริเวณวัด ไม่ใหญ่โตมากนัก มีขนาดกว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร ในสมัยก่อนใช้วิหารเป็น
ที่ปฏิบัติกิจทางศาสนา ด้านหน้าของวิหารเป็นศิลปะแบบล้านนาที่เก่าแก่มาก เป็นไม้ แกะสลักเป็นรูปดอกบัว ต้นโพธิ์ กินนร กินนรี และ
สัตว์ป่าหิมพานต์อีกจำนวนมาก เช่น กวาง นกยูง และสิงโต ภายในวิหารจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่บนแท่น นอกจากนี้วิหารแห่งนี้ยัง
เป็นแบบฉบับของวิหารอื่นๆ ในยุคต้นๆ
ภายในวิหาร ยังคงใช้เป็นสถานที่ในการจุดธูป เทียน บูชาพระพุทธเจ้า ประดับประดาด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม
จึงเป็นที่สนใจแก่นักท่องเที่ยว ที่มาเที่ยวจังหวัด ลำปาง
|
The Religious Meeting House – Wihan
The Wihan is a building in the Temple grounds, formerly used for religious activities and festivals. It is decorated in a very old Lanna style. On the front are wood carvings of the lotus, the Bodhi tree, gods and goddesses, ginnorn and ginnaree, and many animals from the Himmapan Forest including dear, peacocks, swans and lions. Inside, there is an image of the lord Buddha on an altar. It is not a large building, being only nine metres long and five metres wide. Nevertheless, it is beautifully decorated and is a fine example of a wihan from an early period.
It is still used as a place of worship with the lighting of candles and incense to honour the Lord Buddha. And because of its age and beautiful decoration and architecture is a popular attraction for tourists coming to Lampang.
|
|
เจดีย์
เจดีย์เป็นสิ่งก่อสร้างอย่างหนึ่ง ที่สำคัญทางศาสนาเป็นสถานที่ ที่ประชาชนทำการสักการบูชาสืบเนื่องกันมาช้านาน
เชื่อกันว่าภายในเจดีย์นั้นได้บรรจุพระอัฐิของพระพุทธเจ้า ประชาชนจะทำการสรงน้ำเจดีย์ โดยการเดินสาดน้ำไปรอบๆ
องค์เจดีย์ และอธิษฐาน เป็นการสักการะ บูชาพระพุทธเจ้า ตรงฐานของเจดีย์ จะมีรูปปั้นของสัตว์ในสมัยก่อน 12 ราศี
และเจดีย์แห่งนี้ยังเป็นแบบอย่างของสถาปัตยกรรมที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของวัดแท่นบูชาจะถูกสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมในสมัยก่อน
มีเพียงจำนวนน้อยที่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบัน และเหลือไว้ซึ่งความทรงจำทางประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา
|
The Stupa – Chedi
The Stupa, also known as a Chedi is an old structure built along traditional limes and is an important place of religious
veneration since it is thought to contain relics of the Lord Buddha. A ceremony is held annually during the Song Kran Festival
when people walk around the Chedi and throw water on it as a symbol of their devotion to the lord Buddha. This is an important
and deeply satisfying ceremony for them.
At the base of the Chedi, there are images of the twelve zodiac signs from early times. The Chedi is another example
of historical architecture at the Wat.
The shrine was built in the traditional architectural style, of which few examples have survived to the present day. It is
a beautiful reminder of the long history of Buddhism.
|
|
โรงธรรม
โรงธรรม คือ สถานที่เก็บคัมภีร์ของวัด ซึ่งเก่าแก่มาก คัมภีร์ถูกเขียนด้วยอักษรล้านนาบนใบลาน โดยพระมหาป่าเกษรปัญโญ พระภิกษุซึ่งจำพรรษา
อยู่ในวัด ในคัมภีร์นั้นได้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า มีจำนวน 900 ฉบับ ถูกเก็บใส่ถุงผ้าไว้ในตู้ คัมภีร์เหล่านี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และเป็นหลักฐาน
ของผู้คนในสมัยก่อน ที่พึงประพฤติ ปฏิบัติตามหลักธรรม ตลอดจนการแสดงความเคารพบูชาอันยิ่งใหญ่ ต่อพระพุทธเจ้า และให้เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ
แก่ผู้คนรุ่นหลังสืบต่อมา
|
The Sermon Hall – Rongtham
Rongtham is where many of the Wat’s scriptures are kept. They are very old, dating back to the earliest period of the Wat.
The scriptures are written in the Lanna alphabet on Bailan leaves. They were composed by Pra mahapa Ketsara – panyo,
a monk at the temple. The scriptures comprise the teachings of the Lord Buddha. There are 900 series of scriptures in the collection.
They are stored separately in small cloth bags in cabinets. These scriptures are important historically.
They are evidence from earlier times of people’s devotion for the Lord Buddha and are a guide for future generations.
|
|
พิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ คือ สถานที่ที่เก็บสิ่งของเครื่องใช้ที่สำคัญในสมัยโบราณ ภายในพิพิธภัณฑ์มีเครื่องตกแต่งในบ้านหลายชนิด เช่น เตียงนอน
ที่นั่ง และที่ใส่สิ่งของ เครื่องใช้ของคนในสมัยก่อน เครื่องใช้ในบ้าน เช่น ถ้วยชาม ผ้ายัณห์ที่มีการเขียนด้วยลวดลายต่างๆ หลักฐานทางศาสนา
อาวุธต่างๆ และตัวอย่างเครื่องแต่งกายของทหารในสมัยก่อนที่ได้รับการปลุกเสกโดยพระผู้ปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่าป้องกันอันตรายจากศัตรู และไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ
จากการต่อสู้ ตรงฐานของพระพุทธรูปเหล่านั้นล้วนทำด้วยแก้ว ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ยากในปัจจุบันภายในพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งที่น่าสนใจให้ชมมากมาย
ทำให้เข้าใจถึงวิถีชีวิตของชาวล้านนาในสมัยก่อน ท่านจะได้รับสิ่งที่มีคุณค่า และความประทับใจอย่างยิ่ง เมื่อได้มาเที่ยวชมวัดไหล่หินหลวง
|
The Museum
The Museum is a repository of many interesting and culturally significant artifacts from earlier times. There are several pieces
of furniture, including beds and carriages; domestic item such as dishes, a variety of decorative amulets, religious documents,
weapons and some examples of soldiers’ clothing which was blessed by a monk and thought to confer protection from battle injury.
A prominent feature among the exhibits is a large Buddha statue surrounded by a collection of smaller statuettes of the Buddha.
These are unusual items in that they are made of glass, a material rarely used nowadays.
The Museum give an interesting insight into the life – style of the people of Lanna in former times and is well worth seeing after visiting
the main attraction, the Wat Laihin Luang.
|
|
อ่านเพิ่มเติม
ประเพณีตานก๋วยฉลาก ณ วัดไหล่หินหลวง
|
บันทึกในบล็อก
12ก.ย.52 ได้จัดก๋วยและฉลากไปทานที่วัดไหล่หินหลวง ถึงญาติสนิทผู้ล่วงลับ 3 ท่าน คือ ตาแสน ยายแก้ว และยายนี เป็นประเพณีที่ทำกันทุกปีในบ้านไหล่หิน ตำบลไหล่หิน อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง โดยมีเพื่อนบ้านจากหมู่บ้านใกล้เคียง มาร่วมตานกันทุกปี ประเพณีนี้เรียกว่า “ตานก๋วยฉลาก” โดยชาวบ้านเช่น ครอบครัวของผม จะดาครัว หรือเตรียมก๋วย สมัยก่อนใช้ไม้ไผ่สานเป็นก๋วยหรือภาชนะใส่ของ แล้วใช้ใส่ข้าวของเครื่องใช้ อาหารคาวหวานใส่ลงไป ผู้ล่วงลับจะได้พกพาไปไหนได้สะดวก ปัจจุบันเห็นใช้ตะกร้าพลาสติกเป็นส่วนใหญ่ บางคนก็ยังใช้ไม้ไผ่มาสานเป็นภาชนะสำหรับใส่ของตาน อาจใช้ย่าม กะละมังก็ทำได้ สำหรับของที่ตาน หรืออุทิศไปให้ผู้ล่วงลับอาจมีบ้านจำลอง เตียง หงส์จำลอง นกจำลอง หรืออะไรต่อมิอะไรตามจิตศรัทธา เป็นของตาน
ช่วงเช้าไปถึงวัดก็จะเอาฉลาก หรือเส้นไปลงทะเบียนกับกรรมการวัด เพื่อจัดสรรมอบให้พระสงฆ์ หรือเณรที่มาจากวัดใกล้เคียงรวมกว่า 100 รูป และผู้เกี่ยวข้อง เพราะมีเส้นในปีนี้กว่า 4000 เส้น ก็คือของตาน 4000 ชุดจากหลายร้อยครอบครัว สำหรับพระที่ได้รับเส้นหรือฉลากมา อาจมอบให้กรรมการวัดไปตามหา แล้วนำมาจัดสรรในภายหลัง มีความเชื่อว่าถ้าของตานชุดใดถูกรับไปก่อน หมายถึงผู้ล่วงลับมารับส่วนบุญไปเร็ว ชุดใดออกช้า แสดงว่ายังไม่มารับ แต่สุดท้ายก็ได้ตานทุกชุด ต่างกันเพียงแต่ว่าจะหมดช้าหรือหมดเร็ว แต่ละครอบครัวจะเตรียมก๋วยไว้หลายชุด บางบ้านมากกว่า 10 ชุด เพราะมีญาติที่ล่วงลับไปแล้วหลายคน
เมื่อผมไปถึงวัดก็พบคุณทรงศักดิ์ แก้วมูล ในฐานะกรรมการวัดที่มีบทบาทสำคัญในการจัดงานนี้ จึงขอถ่ายภาพท่านมาเขียน blog และนานนานครั้งผมจะได้มีโอกาสไปร่วมงาน เพราะถ้าวันงานตรงกับวันทำงานก็จะมอบให้ญาติท่านอื่นไปทำหน้าที่ ครอบครัวผมมีคนมารับตานเร็ว กลับถึงบ้านประมาณ 12.30 น. ออกบ้านกันแต่เช้าตั้งแต่ 09.00 น. เพราะมีพิธีทางศาสนาในศาลา ที่กระทำอย่างถูกต้องตามขั้นตอน ก็ต้องลุ่นว่าปีต่อไปจะนำลูก ๆ ไปร่วมกิจกรรมนี้ได้อีกหรือไม่ ก็ภวนาให้เป็นวันหยุด .. จะได้ไปร่วมตานอีก
|
ประวัติหลวงพ่อมหาป่า เกสระปัญโญ
ข้อมูลจาก : !http://www.watlaihinluang.com/historymahapar.php
|
วัดไหล่หินหลวงปัจจุบันอยู่ในเขตตำบลไหล่หินอำเภอเกาะคาจังหวัดลำปางเป็นวัดที่มีประวัติความ
เป็นมาอันยาวนานเกี่ยวกับความศรัทธาที่ต่อพระพุทธศาสนามีพระมหาเถระรูปหนึ่งที่ทรงอภิญญาพระเถระรูปนั้นก็คือ พระมหาป่าเกสระปัญโญพระที่อาศัยการธุดงค์วัตรเป็นสำคัญ โดยมีประวัติความเป็นมาดังต่อไปนี้
เมื่อราว พ.ศ.2179 ระยะที่สกุลขุนตานสุตตาเมืองเถินชวลกุลบุตรอยู่ที่ตำบลลำปางหลวงและมี
ประวัติความสัมพันธ์ระหว่างพระเถระลำปางหลวงวัดปงยางคกวัดลำปางหลวงมีเรื่องราวครูบามหาป่าวัดหินแก้ว(วัดไหล่หินหลวงในปัจจุบัน)หรือวัดหินล้นได้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุลำปางหลวง(ตามพงศาวดารเถิน)
เมื่อ พ.ศ. 2226 ปรากฏชื่อจารึกไว้บนแผ่นไม้วิหารวัดไหล่หินมีใจความว่า " จุลสักกปตได้ 1045 ตัว ปีป่าไก่เดือน 4เป็งเม็ง 4 ไตเต้าสง้า พระหมาป่า เกสระปัญโญเป็นเจ้ามูลประธานกับทั้งศิษยานุศิษย์ทั้งหลายได้ชักเชิญ พระสังฆเจ้าดาแปลงยังเสลารัตนปัพพตารามหลังนี้ และศรัทธานาบุญตังหลายทั้งมวลชุคน จุงมาอนุโมทนามาเตอะ" พระมหาป่า เกสระปัญโญรูปนี้นับเป็นพระเถระองค์สำคัญที่เกี่ยวกับวัดสูงเม่นเมืองแพร่อย่างมากปรากฏเรื่องราววัดสูงเม่งเมืองแพร่เคยเดินทางมาขน
เอาคัมภีร์ครูบามหาป่าเกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวงถ่ำดอยฮาง ซึ่งอยู่ห่างจากวัดราว 10 กิโลเมตรเศษนำขึ้นช้างพลายต่าง(นำใส่หลังช้าง) กลับเมืองแพร๋ประวัติการถ่ายทอดพระคัมภีร์ของพระมหาป่าวัดไหล่หินหลวง ของครูบาวัดเม่นเมืองแพร่ ปรากฏในหลักฐานคัมภีร์สถาวกัณณี มีความที่เจรจาไว้ท้ายตำนานผูกที่ 3 จารเมื่อ จ.ศ.1201 (พ.ศ.2398) ว่า
"อุบาสกมูลศรัทธา หนานมณีวรรณค้ำชูครูบาเจ้าวัดสูงเม่น เมืองแพร่มาเมตตาในวัดป่าหินแก้วกล้างริมยาวไชยวรรณแล " คำจารในสถาวกัณณีฉบับดังกล่าวแสดง
ว่าการคัดตำนานจากต้นฉบับของพระมหาป่า เกสระปัญโญร้อยกว่าปี และเป็นสมัยที่ผ่านเข้ามาถึง สมัยเจ้าวงศ์ 7ตนครองเมืองนครลำปางแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่ต้น
ฉบับที่คัดไว้นี้ไว้ที่ วัดไหล่หิน ตังจริงคงจะไปอยู่ที่วัดสูงเม่นเมื่อ พ.ศ.2382 ประวัติพระมหาป่า เกสระปัญโญวัดไหล่หินหลวง คู่กับประวัติมหาปัญโญ วัดพระธาตุลำปางหลวง คือ เป็นพระองค์ฟี่และ
องค์น้อง เดิมฟี่น้องทั้งสองคนนี้ เป็นสามเณรจำพรรษาอยู่ที่วัดพระธาตุเสด็จ เป็นชาวบ้านแม่แก้ เขตตำบลลำปาง ต่อมาสามเณรองค์ฟี่ได้ไป
ศึกษาที่วัดป่าซางเมืองลำพูน เป็นสามเณรที่มีความผิดแปลกไปจากสามเณรรูปอื่น ๆ ตรงที่ว่าเงียบขรึม ท่องบ่นธรรมคัมภีร์โดยไม่ยอมออกเสียง
เหมือนกับสามเณรรูปอื่น และชอบเขียนตัวอักษรบนใบลาน ความเงียบขรึมของสามเณรเกสระนี้เองที่ทำให้เจ้าอธิการวัดป่าซางเฮือก ลำพูน วิตกกังวลเรื่องการเทศน์ เกรงว่าจะแข่งกับสามเณรอื่น ที่มี
ความขยันไม่ได้ ในการท่องบ่นพระธรรมกันเจื่อยแจ้วในระหว่างพรรษาหนึ่ง เจ้าอธิการได้มอบธรรมเวสสันดรชาดก ให้ท่องบ่น ก็มิเห็นสามเณรรูปนั้นท่องบ่น
ครั้งถึงวันเทศกาลออกพรรษาแล้ว มีการตั้งธรรมหลวง สวดเบิก และเทศนาจับสลาก เจ้าผู้ครองนครลำพูนจัดได้กัณฑ์ มหาพนและตรงกับเวรสามเณรเกสระเจ้าอธิการมีความวิตกกังวลมากที่สุดแต่ปรากฏว่า สามเณรเกสระสามารถเทศน์ได้โดยปากเปล่า โดยมิต้องอาศัยการอ่าน เทศน์ได้ถูกต้อง นอกจากนี้เวลามีการรวบรวมคัมภีร์ต่าง ๆที่กระจัดกระจาย เชือกผูกหลุดหลายคัมภีร์ใบลานปะปนกันหลายผูก สามเณรรูปนี้ก็สามารถรวบรวมปะติดได้อย่างคล่องแคล่วเก็บเรียบร้อยเข้าที่เดิมซึ่งเป็นวิธีสอบปฏิภาณแบบหนึ่ง เจ้าอธิการซึ่งก็ทรงทราบแต่บัดนั้นว่า " สามเณรเกสระ มีคุณสมบัติพิเศษ ซึ่งเหนือกว่าสามเณรรูปอื่น ๆ เป็นที่เลื่อมใสตั้งแต่มาอยู่ที่วัดป่าซางเมืองลำพูน พระมหาป่า เกสระปัญโญ ซึ่งในคำจารึกบนแผ่นไม้ในการสร้างพระวิหาร ในปีพ.ศ.2226ประวัติศาสตร์พื้นฐานปริยัติที่ได้จาลำพูน แต่ท่านก็เป็นพระที่ถือธุดงค์วัตรจนมีชื่อเป็นพระมหาป่ารูปหนึ่ง ของวัดไหล่หิน แต่ท่านจะเป็นองค์เดียวกับพระมหาป่าวัดไหล่หิน ที่ย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดลำปางกลาง ตามที่กล่าวไว้ในพงศาวดารเถินหรือไม่ ไม่อาจจะยืนยันได้ในขณะนี้ แต่เมื่อพิจารณาความตามพงศาวดารเถินน่าจะอยู่ในระยะเหตุการณ์ เดียวกัน โดยในประเพณีให้วัดเมืองเถินและวัดลำปางหลวง เป็นครูเดียวกันปฏิบัติเยี่ยมเยือนกันเป็นประเพณีคือวัดเวียง วัดอุมลอง วัดล้อมแรด วัดห้วยเกี่ยง วัดป่าตาล วัดห้างนา ในสายเถิน ลายลำปาง มีวัดลำปางหลวง วัดลำปางกลาง วัดไหล่หินหลวงวัดปงยางคก คือเป็นวัดครูในเครือเดียวกันสืบมา ผลงานของพระมหาป่า เกสระปัญโญ แห่งวัดไหล่หินหลวง เป็นที่แพร่หลายด้วยการจารใบลานไว้มาก ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ทางศักราชจารึก สมัยพระมหาป่า เกสระปัญโญสร้างพระวิหารวัดไหล่หินหลวงในปี พ.ศ. 2226 และความสมบูรณ์เป็นอย่างมากจนถึงปัจจุบันนี้เป็นที่ศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นของนักศึกษานักวิชาการ จิตกรในปัจจุบัน..........
|
|