ถาม | การจัดการโปรเซส มีเกณฑ์อะไรที่ต้องพิจารณาบ้าง |
ตอบ | 1. Throughput 2. Response time 3. Turnaround time 4. Waiting time 5. CPU efficiency 6. Fairness 7. Preemtive scheduling policy 8. Non-Preemtive scheduling policy |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Throughput คืออะไร |
ตอบ | จำนวนโปรเซสที่ทำงานได้ในหนึ่งหน่วยเวลา |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Response time คืออะไร |
ตอบ | เวลาตอบสนองจากระบบ |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Turnaround time คืออะไร |
ตอบ | เวลาทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มต้น ไปจนถึงสิ้นสุดโปรเซส |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Waiting time คืออะไร |
ตอบ | เวลารอคอยการประมวลผล |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา CPU efficiency คืออะไร |
ตอบ | หน่วยประมวลผลทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ กับงานที่ใช้งานหน่วยประมวลผล ไม่ทำงานกับการเรียกใช้อุปกรณ์โดยไม่จำเป็น |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Fairness คืออะไร |
ตอบ | เกิดความยุติธรรมกับทุกโปรเซส |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Preemtive scheduling policy คืออะไร |
ตอบ | เป็นนโยบายที่กำหนดให้โปรเซสอื่นเข้ามาแซงคิวได้ (interrupt) |
ถาม | ในการจัดการโปรเซสแล้ว เกณฑ์พิจารณา Non-preemtive scheduling policy คืออะไร |
ตอบ | เป็นนโยบายการป้องกันการแซงคิว ที่รับรองว่าจะดำเนินโปรเซสไปจนจบ |
ถาม | FCFS คืออะไร |
ตอบ | คำที่ย่อมาจาก First Come First Server เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสแบบหนึ่ง มีลักษณะมาก่อน บริการก่อน |
ถาม | SJN คืออะไร |
ตอบ | คำที่ย่อมาจาก Short Job Next เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสแบบหนึ่ง มีลักษณะทำงานสั้นที่สุดก่อน และใช้ Non-preemptive scheduling policy |
ถาม | Priority Scheduling คืออะไร |
ตอบ | เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสแบบหนึ่ง มีลักษณะทำงานตามลำดับความสำคัญ และใช้ Non-preemptive scheduling policy |
ถาม | SRT คืออะไร |
ตอบ | คำที่ย่อมาจาก Shortest Remaining Time เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสแบบหนึ่ง มีลักษณะทำงานที่เหลือเวลาต้องทำน้อยที่สุดก่อน |
ถาม | RR คืออะไร |
ตอบ | คำที่ย่อมาจาก Round Robin เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสแบบหนึ่ง มีลักษณะจัดลำดับงานตามความสำคัญ และแบ่งเป็นหลายแถว และใช้ Preemtive scheduling policy ให้งานถูกขัดจังหวะได้ มี Time slice หรือ Time quantum ให้แต่ละงานเข้าครองหน่วยประมวลผล |
ถาม | Multiple level queue คืออะไร |
ตอบ | เป็นอัลกอริทึมในการจัดตารางโปรเซสที่เชื่อมโยงอัลกอริทึมอื่น แบ่งออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีการจัดตารางโปรเซสของตนเอง อาจเป็นแบบ Batch หรือ FCFS หรือ SJN ก็ได้ |
ถาม | การติดตาย (Deadlock) คืออะไร |
ตอบ | สภาวะที่โปรเซสมากกว่า 1 ต้องการใช้ทรัพยากร แต่ทรัพยากรมีอยู่จำกัด ทำให้ไม่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้ |
ถาม | การติดตาย มีกรณีใดบ้าง |
ตอบ | 1. การร้องขอไฟล์ 2. การติดต่อฐานข้อมูล 3. การจองใช้อุปกรณ์ 4. การใช้อุปกรณ์หลายชิ้น 5. การทำ spooling 6. การใช้แชร์ดิสก์ |
ถาม | Mutual exclusion คืออะไร |
ตอบ | การกีดกั้นการใช้ทรัพยากรจากความพยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดร่วมกัน |
ถาม | Resource holding คืออะไร |
ตอบ | การถือครองทรัพยากร หรือความเป็นเจ้าของในทรัพยากรนั้น |
ถาม | Non-preemtive คืออะไร |
ตอบ | การไม่อนุญาตให้เกิดการแทรกแซง |
ถาม | Circular wait คืออะไร |
ตอบ | การรอคอยไปเรื่อย ๆ เป็นวง ที่ไม่มีจุดสิ้นสุด |
ถาม | กลยุทธ์การจัดการติดตาย มีกี่วิธี อะไรบ้าง |
ตอบ | มี 3 วิธี 1. Prevention โดยควบคุมไม่ให้การติดตายเกิดขึ้น 2. Avoidance ด้วย Banker's algorithm ประกอบด้วย สถานะปลอดภัย (Safe state) และไม่ปลอดภัย (Unsafe state) ผ่านการควบคุมการถือครอง คิดค้นโดย Edsger W. Dijkstra 3. Detection and recovery |
ถาม | อัลกอริทึมการจัดตาราง (Scheduling Algorithms) มีกี่แบบ อะไรบ้าง |
ตอบ | มี 5 แบบ 1. การจัดเวลาแบบมาก่อนได้ก่อน (FCFS : First-come First-served Scheduling) 2. การจัดเวลาแบบงานสั้นทำก่อน (SJF : Short-Job-First Scheduling) 3. การจัดเวลาตามลำดับความสำคัญ (Priority Scheduling) 4. การจัดเวลาแบบวนรอบ (RR : Round-Robin Scheduling) 5. การจัดเวลาแบบคิวหลายระดับ (Multilevel Queue Scheduling) |