thaiall logomy background การประชุมทางวิชาการระดับชาติ NCCIT ครั้งที่ 20 ค.ศ. 2024
my town
conference

ประชุมวิชาการระดับชาติ

การเผยแพร่บทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT คือ การนำเสนอบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ในที่ประชุมวิชาการที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายผู้จัดงานประชุมวิชาการที่มีสถาบันต่าง ๆ มีความร่วมมือกันจัดประชุมขึ้น และผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ โดยเปิดรับบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ และมีกระบวนการพิจารณาคุณภาพของบทความวิจัยก่อนตอบรับให้นำเสนอ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับเครือข่าย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในครั้งที่ 20 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 17 พฤษภาคม 2024
spss | apa | peer review | TCI-1140 | research | NCCIT | ประชุมวิชาการ |
2024 The 20th National Conference on Computing and Information Technology The 20th National Conference on Computing and Information Technology, Bangkok, Thailand
16 - 17 May 2024 (call for paper) รูปแบบบทความ / ดาวน์โหลด / photo
Proceeding : NCCIT2024 / NCCIT2024 (Abstract) / NCCIT2023
การประชุมวิชาการระดับชาติ
การเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ Proceeding
2024
2023
2019
2018
2017
2016 #
2015
2014
2013
2012 #
2011
ารเผยแพร่บทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ คือ การนำเสนอบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ในที่ประชุมวิชาการที่จัดขึ้นโดยเครือข่ายผู้จัดงานประชุมวิชาการที่มีสถาบันต่าง ๆ มีความร่วมมือกันจัดประชุมขึ้น และผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพ โดยเปิดรับบทความวิจัยฉบับสมบูรณ์ และมีกระบวนการพิจารณาคุณภาพของบทความวิจัยก่อนตอบรับให้นำเสนอ ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมกับเครือข่าย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในครั้งที่ 20 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 17 พฤษภาคม 2024
ารเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในการประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ๆ
ารประชุมวิชาการระดับชาติ คือ การประชุมขนาดใหญ่ที่มีผู้เข้าร่วมประชุมอยู่เป็นจำนวนมาก มีการเตรียมการจัดประชุม และให้ความสำคัญตั้งแต่ การเขียนโครงการ การวางแผนการดำเนินงาน การประชาสัมพันธ์ การออกแบบรูปแบบงาน การจัดสถานที่ห้องประชุมใหญ่ ห้องประชุมย่อย จัดสิ่งอำนวยความสะดวก และการประสานงานที่ดี เพื่อให้เป็นเวทีทางวิชาการสำหรับคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้ร่วมนำเสนอ และเผยแพร่ผลงานวิจัย และเพื่อสร้างบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความรู้ และเรียนรู้ประสบการณ์ในด้านการวิจัยร่วมกัน
2023 The 19th National Conference on Computing and Information Technology The 19th National Conference on Computing and Information Technology,
Bangkok, Thailand
18 - 19 May 2023 (call for paper) รูปแบบบทความ / photo / proceeding
2022 The 18th National Conference on Computing and Information Technology The 18th National Conference on Computing and Information Technology,
Kanchanaburi, Thailand (Hybrid conference)
19 - 20 May 2022 (call for paper) รูปแบบบทความ
2021 The 17th National Conference on Computing and Information Technology The 17th National Conference on Computing and Information Technology,
Bangkok, Thailand (Hybrid conference)
13 - 14 พฤษภาคม 2564 Proceeding
2020 The 16th National Conference on Computing and Information Technology The 16th National Conference on Computing and Information Technology,
ณ โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จังหวัดชลบุรี
14 - 15 พฤษภาคม 2563 Proceeding
2019 The 15th National Conference on Computing and Information Technology The 15th National Conference on Computing and Information Technology,
ณ Aroma Grand Hotel Bangkok Thailand
4 - 5 กรกฎาคม 2562
นิยามศัพท์ เกี่ยวกับ Conference
Proceeding : สำหรับท่านที่ติดตาม NCCIT ที่จัดต่อเนื่องมาถึงครั้งที่ 14 ในปี 2018 บัดนี้มีรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ NCCIT ประจำปี 2017 ที่สามารถ Download ได้ ตามลิงค์นี้ #1 หรือ #2
ารเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการและบทความฉบับสมบูรณ์ (Fullpaper)ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) โดยมี กองบรรณาธิการจัดทำรายงานการประชุม หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วย ศาสตราจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอก หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากนอกสถาบันเจ้าภาพ อย่างน้อยร้อยละ 25 โดยต้องมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นด้วย และมีบทความที่มาจากหน่วยงานภายนอกสถาบันอย่างน้อย 3 หน่วยงาน และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
ารเผยแพร่ผลงานวิจัยในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หมายถึง การนำเสนอบทความวิจัยในที่ประชุมวิชาการ และบทความฉบับสมบูรณ์ (Full paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม(Proceedings) โดยมีกองบรรณาธิการจัดทำรายงานฯ หรือคณะกรรมการจัดประชุม ประกอบด้วยศาสตราจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิระดับปริญญาเอกหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ จากต่างประเทศอย่างน้อยร้อยละ 25 และมีผู้ประเมินบทความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น และบทความที่มาจากต่างประเทศอย่างน้อย 3 ประเทศ และรวมกันแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 25
** บทความในการประชุมวิชาการทั้งระดับชาติและนานาชาติ **
ที่นำเสนอให้กองบรรณาธิการหรือคณะกรรมการจัดประชุมพิจารณาคัดเลือก ต้องเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full paper) และได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
อ้างอิง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 หน้า 33 #
ACTIS, NCOBA, NCCIT, IC2IT, ECTI, NCIT, IEC, NCTECHED, KDS, JCSSE, TECHCON, KUSRC, SKRU, EDTECH
2 0 1 8 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 14 ปี 2018
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT18


พฤ. 5 - ศ. 6 กรกฎาคม 2018 (เกณฑ์พิจารณา)
2 0 1 7 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13 ปี 2017
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT17


พฤ. 6 - ศ. 7 กรกฎาคม 2017 (Proceeding ใน google drive - 94 MB)
2 0 1 6 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 12 ปี 2016
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT16


พฤ. 7 - ศ. 8 กรกฎาคม 2016 ที่ Centara Hotel & Convention Centre Khon Kaen, ขอนแก่น
Final Program ::
Proceeding ใน google drive
2 0 1 5 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 11 ปี 2015
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT15


พฤ. 2 - ศ. 3 กรกฎาคม 2015 ที่ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ
เกณฑ์พิจารณา :: Final Program ::
scribd.com
2 0 1 4 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 10 ปี 2014
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT14


พฤ. 8 - ศ. 9 พฤษภาคม 2014
Blog :: Send guide :: Photo ::
scribd.com :: !Official site : /nccitedoc/

Angkana Laguna Phuket
2 0 1 3 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 9 ปี 2013
National Conference on Computing and Information Technology NCCIT13


9 - 10 พฤษภาคม 2013
Call for paper :: Technical program :: Blog :: Photo ::
2 0 1 2 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8 ปี 2012
The Eight National Conference on Computing and Information Technology NCCIT12


9 - 10 พฤษภาคม 2012 Technical program
2 0 1 1 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7 ปี 2011
The Seventh National Conference on Computing and Information Technology NCCIT11


11 - 12 พฤษภาคม 2011
Blog : #1 #2 | กำหนดการนำเสนอผลงาน | รวมภาพ
2 0 1 0 การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 6 ปี 2010
The Sixth National Conference on Computing and Information Technology NCCIT10


3 - 5 มิถุนายน 2010
Blog : #1 #2 #3
2 0 0 9
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 5 ปี 2009
The 5th National Conference on Computing and Information Technology NCCIT09


22 - 23 พฤษภาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เอกสารที่ผ่านการพิจารณาทั้ง 3 รอบ | กำหนดการนำเสนอแต่ละบทความ
กำหนดการ
1) March 20, 2009 The final date of Manuscript submission
2) April 8, 2009 The final date of submission of revised paper
3) April 16, 2009 Paper result
4) May 15, 2009 The final date of registration for the paper whose results passed the evaluation
วัตถุประสงค์
The conference is to be a platform for providing and exchanging information, knowledge, skills, and experiences in the field of computing and Information Technology.
เอกสารที่เกิดขึ้นจากการร่วมประชุมฯ
- รายงานผลการร่วมโครงการ 2009
- บทความที่นำเสนอ NCCIT09-IT04
- บทความลงสื่อท้องถิ่น security
ประธานคณะกรรมการอำนวยการ และกรรมการ
The National Conference on Computing and Information Technology (NCCIT)

รศ.ดร.มนต์ชัย เทียนทอง #
ที่ปรึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

รศ.ดร.พยุง มีสัจ
คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ผศ.ดร.สุพจน์ นิตย์สุวัฒน์ #
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2 0 0 8
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 4 ปี 2008
The Fourth National Conference on Computing and Information Technology NCCIT'08

23-24 May 2008 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
หลักการและเหตุผล [ รายงานการเดินทาง nccit08.doc ]
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าปัจจุบันการถ่ายทอดวิทยาการในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนเกื้อหนุนก็คือเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ในทางกลับกัน วิทยาการเหล่านี้ได้ย้อนกลับมามีบทบาทต่อการพัฒนาของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ข้างต้นเช่นกัน
ดังนั้น การแลกเปลี่ยนข่าวสาร วิทยาการความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จากการค้นคว้าวิจัยอย่างถูกต้อง เหมาะสมและ สม่ำเสมอ จึงเป็นกลไกที่สำคัญประการหนึ่งของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในภาพรวม โดย เฉพาะในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันให้เกิดการส่งเสริมด้านวิชาการอย่างเป็น รูปธรรม ซึ่งเป้าหมายหลักของสถาบันอุดมศึกษานอกเหนือจากการจัดการศึกษาตามหลักสูตรแล้ว การส่งเสริมการค้น คว้า วิจัยพัฒนา ตลอดจนเร่งรัดให้มีการนำเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และสารสนเทศไปใช้ในการสร้างฐาน ความรู้เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษาและด้านอื่น ๆ อย่างจริงจังเป็นภารกิจที่สำคัญที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าการจัด การศึกษาตามหลักสูตร เพื่อเป็นการสนองนโยบายข้างต้นของสถาบัน คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงมีโครงการจัดการประชุมทางวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีสารสนเทศ ขึ้น โดยได้รับความร่วมมือทางด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัย วิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อเป็นเวทีในการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนข่าวสาร วิทยาการความรู้ ทักษะ และประสบการณ์จาก การค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และประชาชนที่เกี่ยวข้องทั่วไป รวมทั้งนำเสนอความรู้และผลงาน การวิจัยสู่สังคมเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในและนอกสถานศึกษา เนื่องจากวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์เป็นสาฃาวิชาที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว การส่งเสริมและสนับสนุนการเผยแพร่ ผลงานทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการ จึงเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันอุดมศึกษาจะต้องกำหนด เป็นภารกิจหลักในการดำเนินการ ให้เกิดความต่อเนื่อง ตลอดทุกปีการศึกษา
2 0 0 7
การประชุมทางวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 3 ปี 2007
The Third National Conference on Computing and Information Technology NCCIT07

25 - 26 May 2007

สถาบันที่ร่วมจัดงาน

ดร.ภาสกร ประถมบุตร

ในห้องประชุม ก่อนเปิดงาน

เตรียมแยกย้ายเข้ากลุ่ม
วัตถุประสงค์
1. การประชุมทางวิชาการครั้งนี้จะเป็นการเริ่มต้นศักยภาพใหม่ในการเผยแพร่ข่าวสาร บทความผลงานทางวิชา การวิจัย และพัฒนา รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ และข้อค้นพบใหม่ทางด้านคอมพิวเตอร์ของคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่ว ๆ ไปเพื่อแก้ไขปัญหาของสังคมและประเทศชาติ
2. ผู้เข้าประชุมมีโอกาสแลกเปลี่ยนและกระจายความคิดเห็น ข้อมูล องค์ความรู้ในนวัตกรรมใหม่ ๆ รวมทั้งทักษะ และประสบการณ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ซึ่งจะนำไปพัฒนา และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานได้
3. ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันในสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ และการสื่อสาร ทำให้มีความรู้ และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมากขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
4. เป็นการสร้างเครือข่ายองค์ความรู้ในสาขาคอมพิวเตอร์ระดับประเทศให้เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการวางรากฐานการจัดการประชุมทางวิชาการในระดับนานาชาติต่อไป
วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม 2550 ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี
8.00 - 9.00 ลงทะเบียนรับเอกสาร
9.00 - 9.15 พิธีเปิด โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
9.15 - 10.15 บรรยายพิเศษทางวิชาการเรื่อง “Agent Technology in Pervasive Computing Systems”
โดย Associate Professor Dr. Arkady Zaslavsky, Monash University
10.15 - 10.30 รับประทานอาหารว่าง
10.30 - 11.30 บรรยายพิเศษทางวิชาการเรื่อง Intelligent Transportation System
โดย ดร. ภาสกร  ประถมบุตร จาก nectec
11.30 - 12.30 รับประทานอาหารกลางวัน
12.30 - 14.30 นำเสนอผลการวิจัย ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ 1 และ 2 ห้องบางซ่อน 1 ห้องบางซ่อน 2
ห้องบางซ่อน 3 ห้องบางซ่อน 4 และห้องบางซ่อน 5 อาคารนวมินทรราชินี
14:30 - 14:45 รับประทานอาหารว่าง
14:45 - 16:00 นำเสนอผลการวิจัย ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ 1 และ 2 ห้องบางซ่อน 1 ห้องบางซ่อน 2
ห้องบางซ่อน 3 ห้องบางซ่อน 4 และห้องบางซ่อน 5 อาคารนวมินทรราชินี
 
วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2550 ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ อาคารนวมินทรราชินี
8.00 - 9.00 ลงทะเบียนรับเอกสาร
9.00 - 10.00 บรรยายพิเศษทางวิชาการเรื่อง “Computational Intelligence and Evolutionary
Computation : Fundamentals and Applications”
โดย Professor Dr. Gary G. Yen, Oklahoma State University
10.00 - 10.30 รับประทานอาหารว่าง
10.30 - 11.30 บรรยายพิเศษทางวิชาการ เรื่อง “Data Mining”
โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11.30 - 12.30 รับประทานอาหารกลางวัน
12.30 - 14.30 นำเสนอผลการวิจัย ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ 1 และ 2 ห้องบางซ่อน 1 ห้องบางซ่อน 2
ห้องบางซ่อน 3 ห้องบางซ่อน 4 และห้องบางซ่อน 5 อาคารนวมินทรราชินี
14:30 - 14:45 รับประทานอาหารว่าง
14:45 - 16:00 นำเสนอผลการวิจัย ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์ 1 และ 2 ห้องบางซ่อน 1 ห้องบางซ่อน 2
ห้องบางซ่อน 3 ห้องบางซ่อน 4 และห้องบางซ่อน 5 อาคารนวมินทรราชินี
16.00 - 16.15 พิธีปิด ณ ห้องประชุมเบญจรัตน์
วิทยากร: การบรรยายพิเศษ
Professor Dr. Gary G. Yen
Associate Professor Dr. Arkady Zaslavsky

ชาลี ดวงแย้ม

นพดล สิทธิเดชพร

จามิกร หิรัญรัตน์

กาญจนา ทองกลิ่น

โอฬาริก สุรินต๊ะ

สมรักษ์ นุ่มนาค

ผศ.ดร.จันทิมา พลพินิจ

ITINLIFE #91 ไอทีในชีวิตประจำวัน # 91 งานประชุมวิชาการด้านไอที (18 มิถุนายน 2550 - 24 มิถุนายน 2550)

งานประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ (NCCIT07 = The National Conference on Computing and Information Technology 2007) ครั้งที่ 3 ถูกจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม และความร่วมมือทางวิชาการจากสถาบันพันธมิตรทั้งใน และต่างประเทศ ในปีนี้มหาวิทยาลัยโยนกเข้าร่วมเป็นปีแรก ทำให้ผู้เขียนมีโอกาสเก็บข้อมูลจากการร่วมประชุมมาเล่าต่อ หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก www.nccit.net

สุดยอดวิทยากรรับเชิญ 4 ท่านจากประเทศอเมริกา ประเทศออสเตเรีย และประเทศไทย ท่านแรกคือ Dr.Arkady Zaslavsky จาก Monash University บรรยายเรื่อง Agent Technology in Pervasive Computing Systems ท่านที่สองคือ Dr.Gary G. Yen จาก Oklahoma State University บรรยายเรื่อง Computational Intelligence and Evolutionary Computation: Fundamentals and Applications ท่านที่สามคือ ดร.ภาสกร ประถมบุตร จาก NECTEC บรรยายเรื่อง Intelligent Transportation System ท่านที่สี่คือ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง Data Mining

ภาคบ่ายของทั้ง 2 วันจะแบ่งกลุ่มย่อยเข้าแต่ละห้อง เพื่อรับฟังการนำเสนองานวิจัยของผู้ที่ต้องการนำเสนอผลงานของตนจากสถาบันต่าง ๆ ที่ส่งเข้าไป แต่ละห้องดูแลโดย Chair Session และ Co-Chair Session เป้าหมายของผู้นำเสนอมีหลากหลาย เช่น อาจารย์รับฟังเพื่อนำไปพัฒนาการสอน ผู้ประกอบการหาข้อมูลไปพัฒนาองค์กร อาจารย์นำเสนอเพื่อประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ หรือเป็นเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษาของมหาบัณฑิต เป็นต้น ตัวอย่างกลุ่มนำเสนอเช่น กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ กลุ่มคอมพิวเตอร์ศึกษา กลุ่มวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ กลุ่มคอมพิวเตอร์ธุรกิจ กลุ่มเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

แต่ละคนมีเวลานำเสนอเพียง 10 นาที และตอบข้อซักถาม 5 นาที เชื่อว่าเป็นช่วงเวลาที่น้อยเกินไปสำหรับผู้นำเสนอ เพราะทุกงานใช้เวลาพัฒนาหลายเดือนด้วยความทุ่มเท เรียนรู้เรื่องใหม่ ลองผิดลองถูก พิสูจน์สมมติฐาน บันทึกผลการดำเนินงาน เขียนรายงานการทดลอง เขียนบทข้อสรุป และนำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณา ผู้นำเสนอทุกคนเชื่อว่าความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น จึงมีผลงานที่ยอดเยี่ยมมาพัฒนาโลกของเราให้เจริญยิ่งขึ้นต่อไป

ITINLIFE #92 ไอทีในชีวิตประจำวัน # 92 บทความด้านไอทีในงานประชุมนานาชาติ (25 มิถุนายน 2550 - 30 มิถุนายน 2550)

จากการเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอบทความวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษา และอาจารย์ในกลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่มาจากทุกภาคของประเทศ เครื่องมือที่ใช้นำเสนอคือโปรแกรม Powerpoint ผู้นำเสนอทุกท่านนำเสนออย่างเป็นขั้นตอน มักเริ่มจากชี้แจงวัตถุประสงค์ ทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีที่ใช้ ผลการดำเนินงาน และบทสรุป เวลาที่ใช้นำเสนอทั้งหมดให้ไว้ไม่เกิน 15 นาที และเชื่อว่าผู้นำเสนอทุกคนรู้สึกว่าน้อยเกินไป เพราะมีเรื่องที่ต้องชี้แจงมากมายจนหัวหน้าห้องนำเสนอ (Chair Session) ต้องกดกริ่ง เพื่อส่งสัญญาณว่าหมดเวลาแล้ว การซักถาม หรือเสนอแนะจากผู้ร่วมรับฟังเป็นไปอย่างจำกัดด้วยเงื่อนไขด้านเวลา เพราะต้องกำหนดตารางคิว (Queue) ให้กับผู้นำเสนอได้นำเสนอผลงานครบทุกคนในเวลาที่จำกัด

หัวข้อที่ผู้เขียนประทับใจมี 4 เรื่อง โดยพิจารณาจากหัวข้อ และการเตรียมตัวของผู้นำเสนอ เรื่องแรกคือ การประยุกต์เอเจนท์แบบเคลื่อนที่สำหรับการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดย จามิกร หิรัญรัตน์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องที่สองคือ การแก้ปัญหาความกำกวมของคำโดยใช้เทคนิคการตัดคำสำหรับคลังข้อความ Senseval-2 โดย กาญจนา ทองกลิ่น จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องที่สามคือ การจำแนกบรรทัดข้อความออกจากคัมภีร์ใบลาน โดย โอฬาริก สุรินต๊ะ จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องที่สี่คือ เปรียบเทียบประสิทธิภาพวิธีการไขว้เปลี่ยนใน LZWGA โดย สมรักษ์ นุ่มนาค จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ทฤษฎีที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในการนำเสนอของกลุ่มวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือ ขั้นตอนเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) เป็นทฤษฎีที่จําลองกระบวนการวิวัฒนาการทางธรรมชาติ คือ การคัดเลือกที่อาศัยฐานความคิดทางพันธุกรรมในการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่น ที่สามารถนําไปใช้หาคําตอบที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละปัญหา ซึ่งมีขั้นตอนหลัก 3 กระบวนการ คือ การคัดเลือก (Selection) การสับเปลี่ยนค่าโครโมโซม (Crossover) และการกลายพันธุ์ (Mutation)

มีทฤษฎีมากมายในโลกเทคโนโลยีสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ อาจมีหลายทางเลือกในแต่ละทฤษฎี จึงมีการวิจัยเชิงเปรียบเทียบที่ผสมผสานหลายทฤษฎีเข้าด้วยกันอยู่เสมอ การศึกษาเหล่านั้นนำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีใหม่ ทางออกที่เหมาะสม หาข้อสรุป หรือแก้ข้อสงสัยจากสมมติฐาน เป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลาเรียนรู้ หาปัญหา หาวิธีแก้ ทดสอบใช้งาน ปรับปรุงให้ดีขึ้น หาปัญหาใหม่ และหาวิธีแก้ไขใหม่ จะดำเนินเป็นวัฎจักรอย่างนี้เรื่อยไปตราบเท่าที่ยังมีมนุษย์ขี้สงสัยอยู่ในโลกนี้

ITINLIFE #560 ไอทีในชีวิตประจำวัน # 560 แหล่งความรู้ใหม่ทางวิชาการที่อยู่นอกตำรา

ในแวดวงวิชาการมีแหล่งความรู้ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมในแต่ละสายวิชา คือ วารสารวิชาการ และการประชุมวิชาการ ซึ่งความรู้ที่เข้าไปเผยแพร่ใน 2 แหล่งข้างต้นจะต้องได้รับการคัดกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสายวิชานั้น ว่าผลงานที่ส่งไปให้เพื่อนอ่าน มีคุณภาพที่ถูกประเมินและถึงเกณฑ์ที่ยอมรับว่าเผยแพร่ได้ จำนวนผลงานในวารสารวิชาการจะมีเล่มละประมาณ 15 เรื่อง เพราะจำกัดด้วยจำนวนหน้าพิมพ์ และการพิจารณาจะเข้มข้นกว่า ผู้ส่งผลงานอาจต้องส่งผลงานที่ถูกปรับแก้หลายครั้งจนกว่าจะได้รับคำว่าผ่าน แต่การประชุมวิชาการมักมีข้อจำกัดด้านเวลา ดังนั้นผลการพิจารณาจึงมีเพียงผ่านหรือไม่ผ่านในรอบเดียว แต่ข้อดีคือรองรับจำนวนผลงานได้มากกว่าถึง 150 ผลงาน มากหรือน้อยกว่านี้ก็ขึ้นกับนโยบายของการจัดการประชุม เพราะมีตัวแปรเรื่องค่าใช้จ่าย และจำนวนวัน

เมื่อ 7 – 8 กรกฎาคม 2559 ผู้เขียนได้เข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มีองค์กรร่วมจัดงานถึง 18 หน่วยงาน และจัดต่อเนื่องมาทุกปีตั้งแต่ปี 2548 – 2559 แล้วในปีที่ 12 กำหนดจัดงานขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยมี รศ.ดร.พยุง มีสัจ เป็นเจ้าภาพในงาน IC2IT และ ผศ.ดร.สุจิน บุตรดีสุวรรณ เป็นเจ้าภาพในงาน NCCIT หัวข้อที่น่าสนใจมีมากมาย หากสนใจหัวข้อใดก็เลือกเข้ารับฟังการนำเสนอบทความนั้นตามห้องที่กำหนด แต่ไม่อาจรับฟังได้ทุกเรื่อง เพราะมีการแยกห้องนำเสนอเพื่อให้การนำเสนอบทความทั้งหมดอยู่ในระยะเวลา 2 วัน

ในการประชุมนี้เปิดรับบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ 5 หัวข้อหลัก ที่กำหนดขึ้นเพื่อเป็นขอบเขตให้ผู้สนใจเข้ารับฟัง หรือส่งผลงานเผยแพร่ ประกอบด้วย Data Mining and Machine Learning, Data Network and Communication, Human-Computer Interface and Image Processing, Information Technology and System Engineering, Computer Education บทความที่ส่งให้เข้ารับการพิจารณาจะผ่านการอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และต้องได้รับคำว่าผ่าน 2 ใน 3 ท่าน จึงจะนำเสนอในการประชุมได้ ปี 2559 มีผลงานภาษาไทยส่งเข้าไป 218 บทความ แต่ผ่าน 127 บทความคิดเป็นร้อยละ 58 หากสนใจเข้าร่วมแล้ว ในประเทศไทยยังมีการประชุมวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ที่จัดขึ้นเป็นประจำอีกหลายงาน เช่น ACTIS, NCOBA, NCCIT, IC2IT, ECTI, NCIT, IEC, NCTECHED, KDS, JCSSE, TECHCON, KUSRC, SKRU, EDTECH เป็นต้น ที่จัดในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไป

Thaiall.com